อารมณ์ของแมงเม่า
แมงเม่ามักจะเข้าทำการซื้อขายตามความเคยชินในอดีต โดยขาดสติ มีอารมณ์ ความโลภและความกลัวเป็นที่ตั้ง มีการซื้อขายหุ้นตามข่าว หรือ เชื่อตามที่นักวิเคราะห์บอกมา ชอบซื้อหุ้นที่ขึ้นแรงๆ และขายล้างพอร์ตเมื่อลงแรงๆ หากขาดทุนก็มักจะพยายามเอาคืนเดี๋ยวนั้น แมงเม่ามักอยากรู้ว่าทำไมตลาดลงหลังจากตกใจขายหุ้นไปแล้ว “รู้งี้” ไม่ขายดีกว่า
ความเชื่อของแมงเม่า
แมงเม่ามักเชื่อว่านักวิเคราะห์จะทำให้ตัวเองรวยได้ ชอบคนที่มีความคิดเห็นตรงกับตัวเอง มักเชื่อหมอดู มักโทษคนอื่นที่ทำให้เสียหาย มักเป็นพวกวิตกจริต ชอบวันที่หุ้นบวก เกลียดวันที่หุ้นลบ
พฤติกรรมการถือหุ้น
แมงเม่ามักตัดสินใจซื้อหุ้นเร็ว และชอบถือหุ้นระยะสั้นมาก ไม่เกิน 3 วัน ไม่ชอบ let profit run แต่จะถือหุ้นนานๆ เมื่อติดดอยโดยไม่คิดแก้ไขใดๆ แล้วก็ปลอบใจตัวเองว่าได้กินปันผล เพราะ cut loss ไม่เป็น ทำให้ let loss run หลายๆ ครั้งมักซื้อหุ้นตัวเดียวเต็มพอร์ท แมงเม่ามักจะชอบแหกกฏตัวเอง พอขึ้นถึงเป้าแล้วก็ไม่ขาย ปรับเป้าไปเรื่อยๆ ทำให้ขาดความระมัดระวังเวลากำไรมากๆ แมงเม่ามักจะขายหุ้นที่มีกำไรออกไปและถือหุ้นที่ขาดทุนไว้แทน เพราะไม่อยากขาดทุนแมงเม่าเชื่อว่ามีทฤษฎีที่ทำให้ตัวเองกำไรจากตลาดหุ้นทุกวันได้ ชอบใช้กราฟเทคนิครายนาทีในการซื้อขาย ซึ่งปกติต้องใช้กราฟ month กราฟ week ในการลงทุนระยะปานกลาง การใช้กราฟ day ยังเป็น time frame สำหรับเก็งกำไรอยู่
พฤติกรรมการเลือกหุ้น
แมงเม่าชอบเล่นหุ้นตัวเล็กๆ มักจะซื้อหุ้นตัวเดิมๆ ที่เป็นหุ้นปั่น หุ้นเน่า ไม่รู้ว่ากิจการหุ้นที่ซื้อว่าทำอะไร ซื้อๆไปก่อน เดี๋ยวมันก็ปั่น ชอบเล่นในอุตสาหกรรมเดิมๆ แม้ว่ามันจะตกไปแล้ว Sunset
มาดูทางทฤษฎีกันบ้าง ทางการแพทย์มีการศึกษาเอาไว้แล้ว เมื่อปรับมาใข้กับเรื่องหุ้นจะเป็นอย่างไง เรามาศึกษาเรื่องจิตใจกันหน่อย ทำให้มันถึงมีผลกับเรานัก
จิต คืออะไร จิตเป็นพลังงานที่อาศัยอยู่ในร่างการ เป็นพลังงานที่มีความถี่คลื่นละเอียด จิตสามารถที่เคลื่อนที่ได้เร็วที่สุด
หน้าที่ของจิต
- ทำหน้าที่รับสิ่งที่มากระทบแล้วปรุงแต่งอารมณ์
- ทำหน้าที่สั่งสมองให้คิด สั่งกายให้ทำงาน
- ทำหน้าที่สะสมผลของการกระทำ
การลงทุนที่ผิดพลาดแต่ต้น ทำให้นักลงทุนเกิดความกลัว และเข็ดจนไม่กล้าลงทุนอีก อาจจะหันหลังให้ตลาดหุ้นตลอดไป
1. อาการที่เกิดของ Risk Aversion Phobia คือ
1.1. Disposition effect อาการความกลัวความเสียใจจากการลงทุน เช่น
- ขายหุ้นที่มีกำไรออกไปจนหมด และ ถือหุ้นที่ขาดทุนไว้
- ขายหมู แล้วกลับไปซื้อหุ้นเดิมอีกในราคาที่สูงขึ้น เพราะกลัวหุ้นขึ้นแรง
- ถือหุ้นที่ขาดทุน ไม่กล้า cut loss
- จะเกิดพฤติกรรมอาการอ้างอิงราคา reference point
- ทำให้ตั้งราคาขายหุ้นสูงกว่าความเป็นจริง หรือ ตั้งราคาซื้อหุ้นต่ำกว่าความเป็นจริง ทำให้ไม่ได้หุ้นหรือขายหุ้นก็ไม่ได้ เพราะกลัวว่าหากขายหุ้นแล้วหุ้นขึ้นต่อ เป็นอาการจิตหลอนที่เกิดจากความเสียใจจากการขาดทุน
- ไม่ยอมรับว่าหุ้นกำลังจะลง เช่น SET 1650 จุด แต่จะเชื่อว่าหุ้นลงเมื่อลงใกล้จบแล้ว ทำให้ไม่ยอมขายหุ้น จะยอมขายก็ตอนลงใกล้จบแล้ว และจะไม่เชื่อว่าหุ้นขึ้นจนกว่าหุ้นจะขึ้นจบแล้ว SET 1200 จุด ขณะนี้ 1530 จุดค่อยจะมาซื้อหุ้นตอนปลายๆขาขึ้น
- จะคิดถึงต้นทุนในอดีตที่ไม่สามารถเรียกกลับคืนมาได้อยู่ตลอดเวลา ต้นทุนก็คือการขาดทุนนั่นเอง
- มีแนวโน้มเพิกเฉยต่อการลงทุนที่ผิดพลาด ไม่รู้ไม่ดูไม่เห็นไม่ขาดทุนระยะหนึ่ง แต่สุดท้ายก็ถูกกระตุ้นให้ขายขาดทุน ก็จะเกิดอากากลัวความเสี่ยงในที่สุด
2.1 Overconfidence มั่นใจในตัวเองเกินไป ทำให้นักลงทุนคิดว่าความรู้ตัวเองมีมากพอ ประเมินความเสี่ยงต่ำเกินไป
- มั่นใจในตัวเองสูงเกินไป ทำให้ตีข้อมูลผิดพลาด นำไปสู่การตัดสินใจที่ผิดพลาดในรูปแบบการซื้อขายหุ้นบ่อยเกินไป เกิดภาพลวงของความรู้ โดยเชื่อว่ามีความรู้มากคาดการณ์ตลาดได้ถูกต้องมากกว่าข้อมูลน้อย โดยแยกข่าวกับข้อมูลออกจากกันไม่ได้
- พอร์ตของนักลงทุนที่เชื่อมั่นสูงมักจะมีหุ้นที่มีความเสี่ยงสูง และมักจะเป็นบริษัทขนาดเล็ก และไม่กระจายความเสี่ยง
- การถือหุ้นอยู่สร้างภาพลวงตาอของการมีอำนาจควบคุมผลตอบแทนของหุ้น
- หลังจากขาดทุนหุ้นมามากแล้ว นักลงทุนมีแนวโน้มที่จะลงทุนโดยเพิ่มความเสี่ยงมากขึ้นอีกเพื่อที่จะเอาคืน เช่น ขาดทุนหุ้นพื้นฐานเลยเอาคืนจากหุ้นเก็งกำไรหรือหุ้นปั่น เพราะต้องการทุนคืนโดยเร็ว
- ลงทุนที่มีความเสี่ยงมากขึ้นหลังจากที่ได้กำไรช่วงก่อนหน้า เพราะรู้สึกว่าเงินนั้นเป็นเงินกำไรที่ได้จากคนอื่น ผลคือทำให้ซื้อหุ้นราคาสูงเสี่ยงต่อการติดดอย
- พฤติกรรมเหล่านี้จะไปเสริมพฤติกรรม overconfidence เพราะนักลงทุนมั่นใจเกินขนาด ซื้อขายหุ้นบ่อยที่บนความเสี่ยงสูงๆ
- เมื่อได้กำไรจากหุ้นซิ่ง ก็เริ่มได้ใจ ไม่ระมัดระวังการลงทุน กล้าเอากำไรมาเล่นกับมันอีก แต่เจ้าเลิกเล่นไปแล้ว สุดท้ายหุ้นลงแรง และในที่สุดก็ต้องขายขาดทุนหรือติดดอยไปอีกนานแสนนาน ทำให้หมดตัว
- นักลงทุนมักเลือกหุ้นที่คุ้นเคย กล้าซื้อโดยไม่วิเคราะห์ก่อน กล้าซื้อหุ้นในกลุ่มที่เคยเล่นแม้จะมันจะตกไปแล้วเป็นขาลง หรือสนใจลงทุนหุ้นในประเทศมากกว่าต่างประเทศ
- ความคุ้นเคยเชิงพฤติกรรม เช่น ความเคยชินกับตัวหุ้น ความเคยชินกับตลาดหุ้น ความเคยชินกับความผันผวนของหุ้น
- เมื่อเกิดอาการ Risk Aversion Phobia ทำให้ขาดความมั่นใจในการลงทุน ก็จะพยายามหาคนช่วย เช่น ฟังความเห็นของนักวิเคราะห์ มาร์เก็ตติ้ง เพื่อนในเฟส ในไลน์ ที่มีความเห็นตรงกับตัวเอง โดยไม่ได้ดูเลยว่าพวกเขาก็คิดวิเคราะห์ผิดเหมือนกัน แม้จะมีใบอนุญาตในการวิเคราะห์ก็ตาม
สำหรับผม ผมยอมรับว่าตัวเองยังคงเป็นเม่าอยู่เลย คงต้องหาทางรักษาให้หายละครับ แล้วคุณหละเป็นยังไงครับ ตรงใจมั้ยคราวหน้ามาต่ออีกครับ ว่าคุณเป็นใคร คุณจะแก้ไขตัวเองได้หรือไม่ คุณจะกลับมากำไรได้หรือไม่
ที่มาข้อมูล:
Facebook เบิร์ด-ส่องหุ้น
youtube
Stop Loss Weekend 26-7-57
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น