29 มิถุนายน 2559

การลงทุนใน Growth stock และจิตวิทยาการลงทุน โดย นพ. พงศกร เอื้อชวาลวงศ์

Mind Investing Blog 

ผมได้สรุปเนื้อหาที่ผมได้บรรยายในงานสังสรรค์ VI ไตรมาส 2 ลงในบทความนี้นะครับ ต้องขอบคุณทางสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่าที่ให้เกียรติเชิญผมไปเป็นวิทยากรในงานนี้ ขอบคุณผู้ฟังทุกท่านที่ตั้งใจฟัง ไม่มีใครคุยกันเลย...หลายตั้งใจจดมากแม้ว่าผมบอกแล้วว่าจะแจกใน Blog หลายคนถึงขึ้นอัด VDO กันเลยทีเดียว  ขอบคุณภรรยาที่ช่วยตัด Slide ให้เพราะว่าผมงานประจำเยอะมากจนแทบไม่มีเวลาทำ แถมยังมาเป็นกำลังใจให้ถึงขอบเวทีด้วยครับ ขอบคุณครับ

ผมได้พยายามเต็มที่แล้วที่จะให้เนื้อหาเกี่ยวกับหุ้นเติบโตครบถ้วน เข้าใจง่ายที่สุดภายในเวลา 2 ชม. เริ่มตั้งแต่ง่ายไปยาก พยายามจะใส่จุดที่นักลงทุนหลายคนยังเข้าใจผิดและทำให้ภาพเหล่านี้ชัดเจนขึ้น และนำหลักการที่ผมให้ไปใช้จริงได้ครับ ต่อไปนี้จะเป็นเนื้อหาใน Slide ที่จะไปบรรยายนะครับ และผมจะเขียนหนังสือเกี่ยวกับการลงทุนหุ้นเติบโต (Growth investing) แบบในรายละเอียดอีกครั้ง เพื่อนนักลงทุนที่สนใจสามารถติดตามได้ครับ

การลงทุนใน Growth stock และจิตวิทยาการลงทุน Outline 
  • ทำไมต้องลงทุนในหุ้นเติบโต? 
  • ความเข้าใจเรื่องหุ้นเติบโต
  • ความสำคัญของเวลา / ความเข้าใจเรื่องอนาคต / มองอนาคตโดยใช้จินตนาการและเหตุผล 
  • ภาพลวงตาของ PE / คุณภาพและอนาคตของกำไร
  • พฤติกรรมผู้บริโภค
  • การมอง Business model ที่สอดคล้องกับเศรษฐกิจโดยรวม / Natural selection ในระบบทุนนิยม / Megatrend 
  • ความสามารถในการแข่งขัน (DCA) 
  • สิ่งที่สำคัญต่อการอยู่รอดและเติบโต 
  • การเลือกหุ้นจากชีวิตประจำวัน / Systemic approaching 
  • ช่องทางการเติบโตของกำไร 
  • ที่มาของการขยายธุรกิจ / เอาเงินมาจากไหนมาขยายการเติบโต? 
  • การพัฒนาความสามารถในการวิเคราะห์ธุรกิจ 
  • การพัฒนาจิตใจของนักลงทุนหุ้นเติบโต / จิตวิทยาการลงทุน 

 ทบทวนหลักการของ VI กันก่อน
  • - ซื้อหุ้นด้วยมุมมองของการซื้อธุรกิจ เพราะหุ้นคือส่วนหนึ่งของเจ้าของบริษัทสัดส่วนการถือหุ้น
  • - ซื้อหุ้นที่ต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริง (Intrinsic value) 

 การลงทุนหุ้นเติบโต 
  • มองที่การเติบโตของบริษัทเป็นหลัก...แล้วจึงมาดูว่าราคาที่ตลาดให้น่าซื้อ 
  • มีส่วนลดราคาหรือไม่? 
  • ไม่ใช่การมองที่ราคาถูกกว่ามูลค่าแล้วตัดสินใจซื้อเลย 
  • บ้านต้องมีเสา 
  • การลงทุนต้องมีหลักการหรือโครงสร้างทางความคิด 
  • แต่ละคนมีพื้นฐานที่แตกต่างกัน ให้ฟังในสิ่งที่นำไปใช้ประโยชน์กับตนเองได้ 


 การแบ่งหุ้นเป็น 6 ประเภทตามแบบฉบับของ Peter Lynch 


  • ประเภท 1 - 3 ( หุ้นโตช้า, หุ้นแข็งแกร่ง, หุ้นโตเร็ว ) ใช้การเติบโตเป็นตัวแบ่ง ดังนั้นความสามารถในการเติบโตของธุรกิจหรือการเติบโตของกำไรเป็นที่สิ่งสำคัญมาก 
  • ชนิดของการจำแนกหุ้นเปลี่ยนไปได้ตลอดเวลา 
  • หุ้นเติบโตอาจจะกลายเป็นหุ้นปันผล (ธุรกิจอิ่มตัว ไม่เติบโตแล้ว) ..หุ้นเติบโตอาจจะกลายเป็นหุ้นวัฎจักร (กำไรขึ้นลงตามรอบเศรษฐกิจ) ..หุ้นเติบโตอาจจะกลายเป็นหุ้น Asset play ได้ (สินทรัพย์ที่ซื้อมาในช่วงธุรกิจเติบโตมีมูลค่าสูงขึ้นมาก) 
  • ในขณะเดียวกันหุ้นชนิดอื่นอาจจะกลายเป็นหุ้นเติบโตได้เช่นกันถ้าปัจจัยพื้นฐานเอิ้ออำนวย หุ้น turn around บางตัวพอ turn จบกลายเป็นหุ้นเติบโตต่อเนื่อง หุ้นวัฎจักรบางตัวมีแผนการเติบโตที่ชัดเจนและ Demand สินค้าสูงอย่างต่อเนื่องระยะยาว...เราจะมองหุ้นเหล่านี้ด้วย Model ของหุ้นเติบโต หุ้น Asset play บางตัวมีการเปลี่ยนแปลงลักษณะการทำธุรกิจใหม่...แล้วปรากฎว่าเข้าได้กับ Model ของหุ้นเติบโต 
  • ดังนั้น...อย่ายึดติด "ชื่อหุ้น" กับชนิดของหุ้น เพราะชนิดของหุ้นสามารถเปลี่ยนแปลงได้ถ้าเหตุของมันเปลี่ยน (พื้นฐานเปลี่ยน) 


ความเข้าใจเรื่องหุ้นเติบโต 

 ลักษณะของหุ้นเติบโต

  • หุ้นเติบโตเป็นหุ้นที่มองไปยังอนาคต (หุ้นบางชนิดจะมองปัจจุบันเป็นหลัก เช่น หุ้น Asset play, หุ้นปันผล) - เวลาเป็นตัวแปรสำคัญของมูลค่าหุ้นเติบโต ทั้งด้านปัจจัยเชิงคุณภาพและปัจจัยเชิงปริมาณ 
  • ขอให้ "ลืม" ราคาหุ้น ลืม PE ratio ลืมตลาดหุ้นไปก่อน ...แล้วมองดู Core business ว่าบริษัทมีการเจริญเติบโตหรือไม่? ถ้ามีบริษัทมีการเติบโตของธุรกิจ กระแสเงินสดและกำไร บริษัทนั้นคือบริษัทที่มีศักยภาพในการเติบโต หุ้นของบริษัทเติบโตที่มีการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์คือ "หุ้นเติบโต" ครับ 
  • หุ้นเติบโตต้องดูจากโครงสร้างธุรกิจที่มีศักยภาพในการเติบโต (Growth potential) ไม่ใช่ดูจากค่า PE สูง...แม้ว่าหุ้นเติบโตส่วนใหญ่ค่า PE จะสูงก็ตาม หุ้น PE ต่ำบางตัวเป็นหุ้นเติบโตได้เช่นกัน ค่า PE คือการให้มูลค่าของตลาดหุ้น ไม่ได้บอกว่าหุ้นตัวนี้คือหุ้นเติบโต 


ทำไมต้องลงทุนในหุ้นเติบโต? 

  • เป็นหุ้นที่เหมาะต่อการถือระยะยาว เหมาะสำหรับคนที่ไม่มีเวลาเฝ้าจอหุ้น ไม่มีเวลาตามข่าวระยะสั้นทุกวัน แต่ต้องการผลตอบแทนที่ชนะตลาด (เช่น ผม เป็นต้น) 
  • เป็นหุ้นที่ไม่ต้องเชียร์เลย...ผมไม่เคยเชียร์หุ้น ชอบถือหุ้นเงียบๆ แต่หุ้นเติบโตราคาจะเพิ่มขึ้นโดยไม่ต้องไปนั่งเชียร์เพราะมีตัว Driver ราคาหุ้นตลอด นั่นคือการพัฒนาของกิจการในเชิงคุณภาพ รายได้และกำไรที่เติบโตขึ้นในเชิงปริมาณ รวมถึงปันผลที่เพิ่มขึ้นจากกำไรที่เพิ่มขึ้นอีกด้วยครับ 
  • ไม่ว่าคุณจะเป็นนักลงทุน VI สไตส์ไหนก็ตาม เช่น หุ้นปันผล หุ้น Turn around หุ้นคอมโม ... ต้องเข้าใจเรื่องการเติบโตทั้งสิ้น 
  • นักลงทุนควรมีหุ้นเติบโตติดพอร์ตเอาไว้บ้างจะทำให้ผลตอบแทนดีขึ้น ไม่ว่าเราจะเป็นนักลงทุนสไตล์ไหนก็ตามครับ 


ตลาดหุ้นในปัจจุบันควรสนใจหุ้นเติบโตหรือไม่? 


  • ตลาดหุ้นขึ้นมาสูงขึ้นส่วนใหญ่ราคาแพงแล้วแสดงว่าเราไม่ควรลงทุนในหุ้นเติบโตจริงหรือ?
  • ช่วงนี้หุ้นราคาแพง หาหุ้นดีราคาถูกยาก หลังวิกฤติต้มยำกุ้งและวิกฤติซับไพรม์มีหุ้นดีราคาถูกมากมาย แค่นั่งขุดหุ้นแล้วเชียร์สร้าง story ก็ได้กำไรหลายรอบแล้ว (ไม่แนะนำให้ทำครับ ผมไม่ทำแน่นอน) แต่ปัจจุบันไม่ใช่แบบนั้นแล้ว ดังนั้นมี 2 วิธีคือ 
  1. รอให้เกิดวิกฤติซึ่งไม่รู้อีกนานแค่ไหนเพื่อที่จะได้ซื้อหุ้นถูกสุดๆ 
  2. หาธุรกิจที่เติบโตได้สูงกว่าตลาดแล้วซื้อในขณะที่ราคายังต่ำกว่ามูลค่าและถือหุ้นเติบโตไว้ตราบที่บริษัทยังเติบโตอยู่ 


  • นักลงทุนแนว VI หลายคนเข้าใจว่า...ลงทุนแบบ VI คือซื้อหุ้นถูก PE ต่ำ, PBV ต่ำ ซึ่งอาจจะทำให้ไปซื้อหุ้นที่คุณภาพไม่ดีเพราะไม่ได้ประเมินลักษณะการทำธุรกิจ Business model และทำให้ผลตอบแทนไม่ดีในที่สุด - อย่างน้อยถึงแม้ว่าเราจะหาหุ้นเติบโตที่มีมูลค่าต่ำกว่าราคาไม่ได้เลย ไม่มี MOS เราก็สามารถศึกษาข้อมูลของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ได้ว่า..."บริษัท" ใดมีการเติบโตระยะยาว เพื่อว่าความ "เตรียมพร้อม" ที่เราศึกษาไว้ก่อนจะทำให้เรา "กล้าซื้อ" หุ้นเมื่อตลาดตกหนักในขณะที่ปัจจัยพื้นฐานไม่เปลี่ยน บริษัทยังมีการเติบโตระยะยาวต่อเนื่อง 
  • สรุปว่า...ไม่ควรหยุดที่ศึกษาเรื่องธุรกิจที่มีแนวโน้มเติบโตไม่ว่าจะอยู่ในภาวะตลาดใดก็ตาม (แต่การซื้อขายเป็นคนละเรื่องครับ ไม่สามารถทำได้ตลอดเวลา ไม่สามารถทำได้ทุกวันครับ) 


ความเข้าใจเรื่องอนาคต 


  • นักลงทุนต้องทำความเข้าใจกับเรื่องอนาคตเพราะการลงทุนในหุ้นเกี่ยวข้องกับอนาคตโดยตรง...เพราะหุ้นจะขึ้นเมื่อผู้คนส่วนใหญ่ "เชื่อ" ว่า หุ้นตัวนี้ผลกำไรจะดีขึ้นในอนาคต (เช่น ไตรมาสหน้า ปีหน้า สิบปีข้างหน้า แล้วแต่ความไกลของสายตาตลาดและความแรงของข่าว หรือการเติบโตของบริษัททั้งในระยะสั้นและระยะยาว) และนักลงทุนส่วนใหญ่หวังผลที่ได้จากการเพิ่มของราคาหุ้น (Capital gain) เมื่อเวลาผ่านไปในอนาคต 
  • การลงทุนหุ้นหรือการเก็งกำไรหุ้น เกี่ยวข้องกับมองอนาคตโดยตรง 
  • เราจึงต้องมาเรียนรู้เรื่องอนาคตครับ 


เรามีความเข้าใจเรื่องอนาคตอย่างไรบ้าง?

  1.  อนาคตเป็นภาพเดียวที่เกิดแน่นอน อนาคตเป็นความน่าจะเป็น 
  2. อนาคตถูกกำหนดมาแล้ว อนาคตเป็นไปตามเหตุและผล 
  3. ทำนายอนาคตได้ ทำนายอนาคตไม่ได้ 

- Einstein VS Quantum physics (เช่น ไฮเซนเบริก) พระเจ้าไม่โยนลูกเต๋ากับจักรวาล VS เราไม่สามารถระบุตำแหน่งของอนุภาคและโมเมนตัมได้อย่างแม่นยำพร้อมกัน

 ความเห็นของผมในเรื่องอนาคต


  • เรารู้อนาคตได้จริงเหรอ? ทั้งที่สิ่งที่เรา perceive คือปัจจุบันล้วนๆ (ข้อมูลอดีตในสมองและประสาทสัมผัสในปัจจุบัน) หรือว่า...จริงๆแล้วอนาคตเป็นสิ่งที่ไม่สามารถล่วงรู้ได้เลย (Unknowable) 
  •  ลองทายสิ่งที่เกิดขึ้นอีก 1 นาทีข้างหน้าเราแทบไม่รู้เลยด้วยซ้ำ (เช่น ทายผู้ชนะของนักวิ่ง 100 เมตร, การแข่งม้า, ราคาหุ้นระยะสั้น, ไพ่ที่เราจะได้รับในการแข่ง Poker ... เป็นต้น) 
  • ผมเคยลองซื้อหวย เจ๊งครับ (คนส่วนใหญ่จะเจ๊งตามความน่าจะเป็น...และไม่มีใครทำนายอนาคตได้) 
  • ดังนั้นเวลาทำนายอนาคตถูกอย่ามั่นใจในตัวเองเกินไปเราอาจจะแค่โชคดี เพราะไม่มีใครรู้แน่นอนว่าอนาคตจะเกิดอะไรขึ้นครับ 


Future prediction 


  • เราทุกคนอยากรู้อนาคต...มีศาสตร์มากมายที่อ้างว่าทำนายอนาคตได้ (โหราศาสตร์ ลายมือ ไพ่ยิปซี) มีกูรูมากมายที่เชื่อว่าผู้คนเชื่อว่าทำนายอนาคตได้ แต่ความจริงแล้ว...อนาคตเป็นสิ่งที่ไม่สามารถล่วงรู้ได้ 
  • เรามักจะชอบฟังความของผู้เชี่ยวชาญ...กูรูทั้งหลายเรื่องอนาคต เพราะเรากลัวและไม่มั่นใจกับอนาคต 
  • ดังนั้นไม่มีประโยชน์ในการทำนายอนาคต...โดยเฉพาะการทำนายเรื่อง Macroeconomic ครับ เพราะเป็นสิ่งที่ไม่สามารถล่วงรู้ได้ครับ 
  • แต่สำหรับพื้นฐานของกิจการและการเติบโตในอนาคตเราพอคาดการณ์ได้...โดยคิดแบบจำลองสถานการณ์หลายเหตุการณ์และเข้าใจถึงเหตุปัจจัยทั้งภายนอกและภายในที่ส่งผลต่อธุรกิจครับ  


การพยายามคาดการณ์อนาคตนำมาซึ่ง... 

  • นักลงทุนหลายคนพยายามเก็งกำไรงบการเงินเพื่อหาว่าไตรมาสหน้าบริษัทใดจะมีกำไรเติบโตขึ้น...โดยไม่ได้ประเมินว่ากำไรที่เติบโตขึ้นจะเป็นอย่างไรในระยะยาว ต่อให้เดาถูก...ราคาตลาดอาจจะไม่ขึ้นหรือแม้กระทั่งลดลง (เนื่องจาก Sell on fact) นักลงทุนลักษณะนี้มีอยู่มากมายทำให้ซื้อรับความคาดหวังไปกันหมดแล้ว ยิ่งถ้าเดาผิด...ราคาตลาดจะลดลงอย่างมากเพราะตลาดผิดหวังรุนแรง 
  • ตัวอย่างการคาดเดาอนาคต ซื้อดักงบการเงิน ซื้อดัก Opportunity day ซื้อดัก Company visit เป็นต้น 
  • แล้วอย่างนั้นเราจะมีมุมมองอนาคตอย่างไรดี? 


ผมคิดว่า... 

  • อนาคตไม่ได้มีแค่ภาพเดียว...เพราะมนุษย์เรามีสิทธิเลือกที่จะตัดสินใจกระทำในปัจจุบันได้ ขอให้มองอนาคตเป็นหลายเหตุการณ์ที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้ โดยความน่าจะเป็นขึ้นกับเหตุปัจจัยที่ส่งผลลัพธ์ในอนาคต มองทั้งด้านดี...ด้านร้าย โอกาสและความเสี่ยง ถ้ามองแต่ด้านดีอย่างเดียวแล้วเหตุการณ์ไม่เป็นไปอย่างที่คิดเราจะเสียหลักรับมือไม่ถูกครับ 
  • ดังนั้นขอให้มองอนาคตตามภาพของความน่าจะเป็น...ด้วยการศึกษาข้อมูล...เหตุและปัจจัยในปัจจุบันที่มีผลต่ออนาคต 


 เราได้อะไรบ้างจากความเข้าใจเรื่องอนาคต 


  1. ไม่ปักใจเชื่อผู้เชี่ยญชาญหรือเซียนโดยไม่ไตร่ตรองด้วยตนเองเพราะเข้าใจว่าไม่มีใครรู้อนาคต 
  2. มองหาเหตุปัจจัยในปัจจุบันที่จะส่งผลต่อการเติบโตของบริษัทในอนาคต...ทั้งปัจจัยภายนอก Demand trend ปัจจัยภายในทั้งปัจจัยเชิงคุณภาพและปัจจัยเชิงปริมาณ 
  3. การรับมือกับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น...ไม่ว่าจะเป็นการซื้อหุ้นที่ราคาถูกเมื่อเทียบกับมูลค่า มี MOS การรู้จักกระจายความเสี่ยงในระดับที่เหมาะสม 
  4. เข้าใจการประเมินบริษัทว่าเป็น Dynamic ไม่ใช่ Static ปัจจัยที่ส่งผลต่ออนาคตของบริษัทไท่ได้อยู่นิ่งกับที่ เราต้องประเมินคุณภาพของกิจการเป็นระยะ (เช่น ปีละครั้ง) 
  5. ไม่ปักใจว่ามูลค่าของบริษัทว่ามีเพียงตัวเลขเดียว (เพราะหุ้นเป็น Dynamic) ...ขอให้มองเป็น Range (ช่วงราคา) จะทำให้ดีต่อการตัดสินใจซื้อขายมากกว่าครับ 


 ความสำคัญของ "เวลา" กับหุ้นเติบโต 


  • "เวลา" คือ สิ่งที่มีพลังที่สุดในจักรวาลเพราะ...เวลาสามารถเปลี่ยนแปลงได้ทุกสิ่ง ความแน่นอนคือความไม่แน่นอน แต่ในความไม่แน่นอนคือ...ทุกอย่างต้องเกิดจากเหตุไปสู่ผล ผลเกิดจากเหตุและปัจจัย - ถ้าเราไม่รู้เหตุและปัจจัยเราจะไม่สามารถคาดการณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้นได้ ...แต่ถ้าเราทราบเหตุปัจจัยที่มีผลในทุกเหตุปัจจัย...เราจะทำนายผลลัพธ์ได้อย่างแม่นยำครับ เช่น การคาดการณ์การเคลื่อนที่ของดวงดาวบนท้องฟ้า เกิดจากแรงดึงดูดระหว่างดาวต่างๆ (แรงโน้มถ่วง gravitation force) 
  • เมื่อเวลาผ่านไป...กิจการที่มีศักยภาพในการเติบโต (growth potential) จะแสดงพลังออกมา ทั้งที่ตอนแรกเราอาจจะมองไม่เห็น ... เหมือนเด็กทารกที่เริ่มจากเซลเดียวแล้วเมื่อเวลาผ่านใน 9 เดือนในครรภ์...กลายเป็นมนุษย์ที่มีศักยภาพในการเติบโตอย่างต่อเนื่อง เหมือนต้นไม้ที่เริ่มจากเมล็ดพันธ์เล็กๆที่เมื่อปลูกในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม...จะแสดงศักยภาพเป็นต้นไม้ใหญ่ในอนาคต ซึ่งการเติบโตต้องอาศัยเวลา...จะไปเร่ง"ไม่ได้" เราต้องอดทนรอคอย 
 หุ้นเติบโตกับค่า PE 
  • ตลาดหุ้นไม่ให้ค่า PE ของหุ้นทุกตัวเท่ากันเพราะหุ้นแต่ละชนิดคุณภาพไม่เหมือนกัน หุ้นที่มีอนาคต...สามารถเติบโตได้อย่างแข็งแกร่งเป็นระยะเวลานาน อนาคตสดใสย่อมได้รับค่า PE สูง หรือ หุ้นดีราคาแพงนั่นเอง 
  • ของดีมักจะมีราคาสูง ของที่เกรดต่ำกว่าราคาจะถูก แต่ก็ไม่เสมอไป การใช้ค่า PE แบ่งคุณภาพหุ้นจึงไม่สามารถทำได้ 100 เปอร์เซ็นต์ 
  • สำหรับหุ้นเติบโตที่มีคุณภาพ PE ปัจจุบันอาจจะดูสูง...แต่เมื่อใช้ Earning ของอนาคต เช่น 1 ปีข้างหน้า หรือ 5 - 10 ปีข้างหน้าจะพบว่า Forward PE เมื่อใช้ราคาปัจจุบันหารด้วยกำไรของอนาคตจะมีค่าน้อยลงมากทีเดียวครับ 

*** หุ้นเติบโตที่ราคาแพงเกินไปไม่เหมาะกับการเข้าซื้อเช่นกัน เช่น iphone แม้ว่าจะเป็นโทรศัพท์ที่ดีแต่การซื้อเครื่องละ 1 ล้านย่อมนับว่าไม่คุ้มค่าครับ*** 

ยกตัวอย่าง - ความสัมพันธ์ของเวลาและหุ้นเติบโต 

ลองเปรียบเทียบหุ้น 2 ตัว ดูนะครับ
หุ้น A เป็นหุ้นโตช้าเติบโตเฉลี่ยประมาณ 5 เปอร์เซ็นต์ต่อปี
หุ้น B เป็นหุ้นเติบโตที่มีศักยภาพเติบโตได้อย่างแข็งแกร่ง เติบโตเฉลี่ย 20 เปอร์เซ็นต์เป็นระยะเวลา 10 ปี

สมมุติว่า...กำไรสุทธิ = 1 บาท ที่จุดเริ่มต้น

 หุ้น A จะมีกำไรปีที่ 10 เท่ากับ 1 x (1+0.05)ยกกำลัง 10 = 1.63 บาท
หุ้น B จะมีกำไรปีที่ 10 เท่ากับ 1 x (1+0.20)ยกกำลัง 10 = 6.19 บาท
จะเห็นได้ว่าหุ้น B มีกำไรที่เติบโตอย่างก้าวกระโดดมากเมื่อเวลาผ่านไป 10 ปีครับ มากกว่าหุ้น B ถึง 3.8 เท่า
ถ้าการเติบโตยิ่งต่อเนื่องยาวนานขึ้นเท่าใด...หุ้นเติบโตยิ่งทิ้งห่างหุ้นปันผลมากขึ้นเท่านั้น

สมมุติถ้าหุ้น A ตลาดให้ PE แค่ 7 ราคาหุ้น A ปัจจุบันเท่ากับ 7 บาท ราคาหุ้น A ที่ 10 ปีให้หลังเท่ากับ 11.40 บาท (7 -> 11.40 กำไร 63 เปอร์เซ็นต์ใน 10 ปี)

สมมุติหุ้น B เป็นกรณี
 
กรณีที่ 1 เมื่อเวลาผ่านไป 10 ปี หุ้น B เติบโตยังมีศักยภาพในการเติบโตต่อเนื่อง...สมมุติตลาดให้ค่า PE หุ้น B เท่ากับ 20 (เท่ากับการเจริญเติบโตเฉลี่ย) ราคาหุ้น B ปัจจุบันเท่ากับ 20 บาท ราคาหุ้นที่ 10 ปีให้หลังเท่ากับ 123 บาท (20 -> 123 กำไร 515 เปอร์เซ็นต์ใน 10 ปี)

กรณีที่ 2 เมื่อเวลาผ่านไป 10 ปีหุ้น B หมดศักยภาพในการเติบโตแล้วกลายเป็นหุ้นโตช้า...สมมุติตลาดให้ค่า PE หุ้น B เท่ากับ 20 (เท่ากับการเจริญเติบโตเฉลี่ย) ราคาหุ้น B ปัจจุบันเท่ากับ 20 บาท ราคาหุ้นที่ 10 ปีให้หลัง ตลาดลดค่า PE ลงเนื่องจากลายเป็นหุ้นโตช้าเท่ากับ PE 7 (เท่าหุ้น A) ราคาหุ้น B ในอีก 10 ปีให้หลังเท่ากับ 7 x 6.19 = 43.33 บาท (20 -> 43.33 กำไร 116 เปอร์เซ็นต์ใน 10 ปี) แม้ว่าตลาดได้ลดค่า PE ลงแล้วยังได้กำไรมากกว่าการซื้อหุ้นโตช้าอยู่ดีครับ 

กรณีที่ 3 เมื่อเวลาผ่านไป 10 ปี หุ้น B หมดศักยภาพในการเติบโตแล้วกลายเป็นหุ้นโตช้า...แต่ตลาดคาดหวังสูงให้ค่า PE หุ้น B เท่ากับ 30 (มากกว่าการเจริญเติบโตเฉลี่ย) ราคาหุ้น B ปัจจุบันเท่ากับ 30 บาท ราคาหุ้นที่ 10 ปีให้หลังเท่ากับ 43.33 บาท (30 -> 43.30 กำไร 44 เปอร์เซ็นต์ใน 10 ปี) แสดงว่าการซื้อหุ้นเติบโตที่ราคาแพงเกินไปจะทำให้ได้กำไรน้อยลงได้

(ตัวอย่างใช้การสมมุติตัวเลขเพียง 3 ชุดเพื่อแสดงให้เห็น "พลังของเวลา"...แต่การจำลองสถาณการณ์ของจริงทำได้มากกว่านี้ได้หลายรูปแบบครับ เช่น การเติบโตของกำไรที่มากกว่า 20 เปอร์เซ็นต์ต่อปี, การที่ตลาดให้ค่า PE หุ้นเติบโตต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในการเติบโต, การให้ค่า PE ของหุ้นโตช้าสูงกว่านี้ เช่น ให้ PE = 10 เป็นต้น)

 ดังนั้นจากตัวอย่างนี้...เราจะเห็นได้ว่า

1. การซื้อหุ้นเติบโตระยะยาวยิ่งถือนานกำไรยิ่งเพิ่มพูน เพราะ "เวลา" เป็นเพื่อนของกิจการที่ยอดเยี่ยม...ยิ่งถือหุ้นนานยิ่งเสี่ยงน้อยลงเพราะหุ้นเติบโตมีขนาดของ Upside ที่สูงพอที่จะกลบความผันผวนระยะสั้นได้อย่างสบายๆ หุ้นประเภทอื่นยิ่งถือนานยิ่งเสี่ยง...เช่น

  • หุ้น Turnaround ถ้า turn จบแล้วปัจจัยพื้นฐานไม่เติบโตต่อเนื่อง...อาจจะกลับไปฟุบซ้ำด้วยเหตุว่าพื้นฐานบริษัทไม่ดีมาตั้งแต่ต้น 
  • หุ้น Cycle กำไรขึ้นลงตามรอบเศรษฐกิจ...ถ้าถือยาวตอนขาลงจะขาดทุนมาก ถ้าถือขาขึ้นแล้วถือยาวไม่ยอมขาย อาจจบขาขึ้นโดยไม่ได้ขายทำให้ไม่ได้กำไรหรือถือจนขาดทุนได้ในที่สุด 


2. การซื้อหุ้นเติบโตต้องประเมินราคาเทียบกับการเติบโตด้วย...ถ้าซื้อหุ้นเติบโตที่ราคาแพงมากๆ โดยที่หุ้นไม่ได้มีศักยภาพในการเติบโตขนาดนั้น อาจจะขาดทุนในระยะสั้น...แม้ในระยะยาวอาจจะได้กำไรน้อยหรือกระทั่งขาดทุนได้ครับ ควรซื้อหุ้นเติบโตเมื่อราคาถูกกว่าการเติบโต ถูกกว่ามูลค่าที่แท้จริง ต้องมี Margin of safety ครับ (ผมจะพูดถึงเรื่อง PE อีกครั้งว่าทำไมหุ้นแต่ละตัว PE สูงต่ำไม่เท่ากันเอาอะไรมาวัดครับ)

การเติบโตระยะยาว VS การเติบโตระยะสั้น

- นักลงทุนบางคนบอกว่า...ยิ่งถือหุ้นยาวยิ่งเสี่ยงเพราะมีปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจมากมายที่คาดเดาไม่ได้ การถือหุ้นยาวยิ่งทำให้เสี่ยงมากขึ้น สิ่งคำกล่าวนี้จริงหรือไม่?
- บางคนบอกว่าเราคาดการณ์สิ่งที่กำลังจะเกิดได้แม่นยำกว่า...สิ่งที่จะเกิดในอีกหลายปีข้างหน้า
- ผมคิดว่าการมองแบบนี้เป็นจริงบางส่วน ไม่จริงบางส่วน และเป็นการด่วนสรุปเกินไป การคาดการณ์อนาคตมีภาพกรอบของเวลาที่เหมาะสมกับสิ่งต่างๆที่ไม่เหมือนกัน
- การมองภาพ...ต้องมีระยะที่เหมาะสมกับการมอง การมองเชื้อโรคต้องใช้กล้องที่มีกำลังขยายสูง การมองไกลต้องใช้กล้องส่องทางไกล การมองภาพปกติในการขยายระดับละเอียดจะไม่เห็นภาพรวม เปรียบเหมือนมอง TV แบบขยายจะเห็นแต่จุดเล็กๆ ไม่เห็นไม่เข้าใจเนื้อหาใดๆที่แสดงใน TV เลย การคาดการณ์ลมฟ้าอากาศถ้ามองในระดับรายวันอาจจะคาดยาก...แต่ถ้ามองเป็นฤดูจะพอคาดเดาได้ว่าช่วงไหนน่าจะเป็นฤดูใด
- ดังนั้นการมองธุรกิจในรายวัน...หรือแม้แต่รายไตรมาส เราจะมองไม่เห็นการเติบโตของธุรกิจในภาพรวม การคาดการณ์การเติบโตจะมีกรอบเวลาที่มองเห็นภาพชัดของแต่ละธุรกิจ เห็นภาพชัดที่กรอบเวลาใดให้ลงทุนที่กรอบเวลานั้น
- ใครจะเก่งคาดการณ์ในกรอบระยะเวลาใด...ให้ลงทุนในกรอบระยะเวลาที่เราคาดการณ์ได้ ในกรอบเวลาที่เรามองเห็นความน่าจะเป็นของอนาคต แต่ถ้าเป็นการคาดการณ์ในเรื่องการเติบโตของธุรกิจ...ผมคิดว่าต้องเป็นระดับหน่วย "ปี" ขึ้นไป และที่สำคัญกว่านั้น...ถ้าบริษัทนั้นมีศักยภาพในการเติบโต เวลาจะเป็นเพื่อนของเราครับ ดังนั้น...งานของนักลงทุนหุ้นเติบโตคือการค้นหาบริษัทที่มีศักยภาพการเติบโตในระยะยาวครับ การคาดการณ์การเติบโตในอนาคตของบริษัทจากการเติบโตในอดีต...???
- ไม่แน่เสมอไป...เพราะเราต้องเข้าใจเหตุปัจจัยที่มีผลต่อการเติบโตของบริษัท แล้วประเมินว่าเหตุปัจจัยเหล่านั้นยังคงอยู่หรือไม่?
- บางคนรองบการเงินออก มานั่ง check กำไร ROA ROE นั่งแกะงบ ผมคิดว่าช้าเกินไป... เพราะส่วนใหญ่กว่างบการเงินจะออกราคาจะตอบรับแนวโน้มการเติบโตไปเรียบร้อยแล้วจากการประเมินปัจจัยเชิงคุณภาพ ในมุมมองของผมจะวิเคราะห์ Business model แล้วลองตั้งสมมุติฐานเรื่องความก้าวหน้าของกิจการที่มีผลต่อกำไร และตรวจสอบตัวเลขในงบการเงินที่สำคัญเป็นระยะ มองอนาคตโดยใช้จินตนาการและเหตุผล การพัฒนาการคาดการณ์อนาคต
- ภาพยนต์ต่างประเทศ การอ่านหนังสือ การไปเที่ยวต่างประเทศ การมองวิถีชีวิตของผู้คน
- ลงทุนในธุรกิจที่เราเข้าใจ เราทุกคนมีความเข้าใจอุตสาหกรรมบางอย่างมากกว่าคนอื่น ตามความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับมา ... ถ้าสนใจธุรกิจที่ยังไม่เข้าใจ...ให้เข้าไปศึกษาคลุกคลีจนเข้าใจธุรกิจ เพื่อเพิ่ม Circle of competence ในการลงทุนครับ อย่างไรก็ตาม ไม่ควรหมกมุ่นกับอนาคตจนละเลย

ปัจจุบัน...เพียงแค่ให้รู้ว่าบริษัทที่เราลงทุนกับกำลังจะเดินไปในแนวทางไหน คอยเฝ้าดูว่า...ตอนนี้ถึงจุดไหนของเส้นทางของการเติบโต

 การมองอนาคตในการเติบโตของหุ้นเติบโต

1. การเข้าใจพฤติกรรมมนุษย์ พฤติกรรมผู้บริโภค (เข้าใจการเติบโตของ Demand - Demand trend)
2. การเข้าใจการบริษัทที่เราลงทุน (เข้าใจการเติบโตของ Supply ที่มีต่อ Demand ...รวมถึงเข้าใจการสร้าง Demand) กรณีศึกษาเรื่องพฤติกรรมมนุษย์ การใช้กล้องถ่ายรูปแบบฟิลม์ เพจเจอร์ อินเตอร์เนต โทรศัพท์มือถือ ชาเขียว การเดินห้าง เข้าใจพฤติกรรมผู้บริโภค (เราทุกคน)
 - พฤติกรรมผู้บริโภคมีความสำคัญอย่างไร? ยกตัวอย่าง...ความเชื่อมโยง ความต้องการของมนุษย์บางคน -> Demand ของ End product -> Demand ของสายการผลิตที่เกี่ยวข้องกับ End product นั้น -> ความต้องการของมนุษย์ในสังคม (Critical mass) -> Demand trend -> Megatrend
- ความต้องการของมนุษย์คือตัวกำหนดราคาของสิ่งต่างๆ - ความต้องการ = Demand - ธุรกิจคือการพยายามตอบสนอง Demand ของมนุษย์โดยแลกกับเงินตรา แล้วมนุษย์ต้องการอะไร?
 - ความต้องการทางร่างกาย ปัจจัย 4 (อาหาร เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม บ้าน คอนโด ยา โรงพยาบาล) - ความต้องการเป็นที่ยอมรับ (ธุรกิจความงาม, เครื่องประดับ, สินค้า brand name, การสร้าง brand, Smart phone) - ความต้องการค้นหาตนเอง (การสัมมนาพัฒนาตนเอง, หนังสือ)
- ความต้องการเป็นส่วนหนึ่งของสังคม (Social network, Communication)
- ความง่าย มนุษย์มีแนวโน้มเข้าหาความง่าย ไม่ชอบความยุ่งยาก - ความเป็นหมู่คณะ มนุษย์ชอบทำตามกัน - ราคาถูก (มูลค่าในใจเทียบราคาที่ขาย) - ความสะดวกรวดเร็วทันใจ (การเสริมแรงทันทีเป็นกลไกของธรรมชาติ)
- หลีกหนีความทุกข์
- เข้าหาความสุข เราสามารถเอาความรู้เหล่านี้ไปประยุกต์ใช้ได้ทั้งในการมอง Demand trend, การทำการตลาด, การประเมินความสามารถในการแข่งขันของสินค้าและบริการที่จะเอาชนะใจผู้บริโภคทั้งระดับ End product และกระบวนการผลิต
 - เริ่มจากความเข้าใจตนเอง...สำรวจตนเอง สุดท้ายจะนำไปสู่ความเข้าใจพฤติกรรมมนุษย์โดยทั่วไปที่สุด
- เริ่มจากการศึกษาพฤติกรรมของคนใกล้ตัว คนในสังคม รวมถึงคนในต่างประเทศที่พัฒนาแล้ว การสร้าง Demand
- ธุรกิจจำเป็นต้องตอบสนอง Demand ของมนุษย์เสมอไปหรือไม่?
- มนุษย์หลายคนไม่รู้ว่าชีวิตต้องการอะไร...ส่วนใหญ่ต้องให้คนอื่นมาบอกให้...ว่าสิ่งนั้นดีสิ่งนี้ดี
- ประเมินว่าธุรกิจที่เราสนใจมีการสร้าง Demand หรือไม่? เช่น การโฆษณา การตลาดที่มีประสิทธิภาพ สินค้าที่โดนใจผู้บริโภค Megatrend (มาจาก Demand trend ที่เป็นภาพใหญ่และใช้ระยะเวลานาน)
- การมอง megatrend จะทำให้เราเข้าใจว่า..กลุ่มอุตสาหกรรมใดที่มีแนวโน้มเติบโตขึ้น จากการเติบโตของความต้องการของผู้บริโภค และการเติบโตของ supply ที่มีต่อ demand ของผู้บริโภค
- ไม่สามารถรับประกันได้ว่า...หุ้นที่อยู่ใน Megatrend จะเป็นหุ้นที่ประสบความสำเร็จเสมอไป เนื่องจาก

1. ถ้าบริษัทไม่ได้มีแรงจูงใจในการเติบโต...ทำพออยู่ไปวันๆ ก็ไม่มีทางเติบโตได้ เช่น ร้านมือถือ แม้ช่วงที่ผ่านมาอุตสาหกรรมจะเติบโตเพราะมือถือราคาถูกลง...แต่ถ้าเจ้าของเป็นคนที่ทำงานเช้าชามเย็นชามไม่หาความก้าวหน้า บริษัทไม่มีทางเติบโตได้
2. ถ้าบริษัทไม่ได้มีความสามารถในการแข่งขัน...เมื่อทรัพยากรไม่พอเพียงต่อการเจริญเติบโตของทุกองค์กร (สิ่งมีชีวิต) ไม่สามารถหาตลาดใหม่ๆ (หาพื้นที่แหล่งอาหารใหม่) ไม่สามารถป้องกันผู้เล่นรายใหม่ที่เข้าสู่อุตสาหกรรมได้ (มีสิ่งมีชีวิตอื่นมาแย่งชิงอาหารในพื้นที่) ไม่สามารถป้องกันการถูกแย่งชิงลูกค้าเดิมของบริษัท (มีสิ่งมีชีวิตมาแย่งอาหารของเผ่าพันธ์ตนเอง) มี Megatrend ใดที่น่าสนใจบ้าง?

1. AEC การจัดตั้งประชาคมอาเซียน
- โอกาสของการขยายธุรกิจที่มีความสามารถในการแข่งขันสู่ตลาดใหม่ (ต่างประเทศเข้าไทย, ไทยไปต่างประเทศ)
- มีโอกาสการลงทุนที่ดีในหลายประเทศที่กำลังพัฒนา เช่น พม่า ลาว กัมพูชา ในเรื่องสาธารณูปโภคพื้นฐาน
- การเติบโตของ Logistic ในเขตอาเซียน การค้าขายข้ามพรมแดนมากขึ้น
- การเข้ามาแข่งของแรงงานราคาถูกจากกประเทศที่กำลังพัฒนา
 - การที่แต่ละประเทศสร้างจุดแข็งของตนเอง เช่น ไทยเด่นเรื่องท่องเที่ยว การแพทย์ ศูนย์กลางการขนส่งของภูมิภาค
2. Aging economy สังคมผู้สูงอายุ
3. Female economy ผู้หญิงมีรายได้เพิ่มขึ้น มีบทบบาทในสังคมและครอบครัวมากขึ้น
4. Raising of China การเติบโตของประเทศจีนและประเทศในแถบเอเชีย
5. Urbanization การที่มนุษย์เข้ามาอยู่อาศัยในเมืองมากขึ้น
6. คนแต่งงานลดลง มีลูกน้อยลงแต่เลี้ยงดีขึ้น ให้การศึกษาลูกอย่างดี
7. Energy and Green energy พลังงานและพลังงานทางเลือก
8. Modern trade พ่อค้าคนกลางยุคใหม่
9. Internet, Social network, E-commerce คนใช้เวลากับอินเตอร์เนตมากขึ้น
10. Logistic, Transport การขนส่ง เนื่องจากการเกิด FTA เขตการค้าเสรี ไม่มีการตั้งกำแพงภาษี การเคลื่อนย้ายสินค้าและบริการทำได้อย่างอิสระ ต้นทุนที่เกิดคือค่าขนส่ง
11. Food ประชาการโลกอยู่ดีกินดีขึ้น มีแนวโน้มบริโภคอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพมากขึ้น
 12. การเพิ่มขึ้นของชนชั้นกลาง เมื่อเศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนาดีขึ้น ผู้คนอยู่ดีกินดี สินค้าและบริการเพื่อความบันเทิง ท่องเที่ยว สุขภาพ จะมีแนวโน้มเติบโตสูงขึ้น
13. Investment ผู้คนหันมาสนใจการลงทุนมากขึ้น, การทำงานแบบเข้าออฟฟิตลดลง ทำงานที่บ้านแบบออนไลน์ การมองเป็นระบบ Systemic approaching
- ต่อยอดจากการมอง Megatrend
- มองเห็นโอกาสจากชีวิตประจำวันของเรา เราเห็นแนวโน้มอะไรบ้างจากชีวิตการทำงานและชีวิตประจำวันของเรา ยกตัวอย่าง การเอา Demand trend จากพฤติกรรมมนุษย์เพียงอย่างเดียวมาแยกเป็นบริษัทที่เราจะประเมินเพื่อหาหุ้นเติบโตลงทุนได้มากมายครับ
- แนวโน้มคนใช้ Smart phone มากขึ้น (บริษัทที่ผลิตมือถือ Smart phone - บริษัทที่ให้สัญญาณโทรศัพท์ - บริษัทที่ผลิตชิ้นส่วนมือถือ
- บริษัทที่ขายมือถือ - บริษัทที่ให้บริการสัญญาณอินเตอร์เนต
- บริษัทที่ให้บริการทางอินเตอร์เนต พวก Application
- บริษัทที่ทำ E-commerce เป็นต้น)
 - คนรุ่นใหม่ชอบอยู่คอนโดในเมืองมากขึ้น (บริษัทที่ขายคอนโด
- ธุรกิจรถไฟฟ้า
- บริษัทที่ขายวัสดุก่อสร้างให้คอนโด
- บริษัทที่รับเหมาก่อสร้างให้คอนโด - บริษัทที่ขายเฟอร์นิเจอร์ให้คอนโด
 - บริษัทที่ขายสาธารณูปโภคให้คอนโด เช่น สัญญาณอินเตอร์เนต ทีวี น้ำ ไฟฟ้า เป็นต้น) 
- การคิดเชิงระบบทำให้เราคิดได้ไกลกว่าสิ่งที่เราเห็น...มองแนวโน้มเดียวเห็นได้หลายอุตสาหกรรมที่เติบโตได้ - แต่ทั้งนี้ขึ้นกับรายได้ของสินค้าจากแนวโน้มที่เราเห็นว่าเติบโตเป็นสัดส่วนเท่าใดของรายได้ของบริษัท ค่อยพิจารณาอีกครั้งว่าบริษัทใดเป็นบริษัทที่เติบโต

การประเมินผู้บริหารของหุ้นเติบโต
1. แรงจูงใจของผู้บริหารในการเติบโต / ผลประโยชน์เป็นไปในแนวทางเดียวกับผู้ถือหุ้น
2. ความซื่อสัตย์ / ตรวจสอบประวัติการทำงาน / การให้ข้อมูลกับผู้ถือหุ้นแล้วทำจริงได้หรือไม่?
3. ความสามารถในการบริหารธุรกิจ / แนวคิด-วิสัยทัศน์-ผลประกอบการณ์บริษัทระยะยาว Natural selection ในระบบทุนนิยม
- ทุนนิยมในมุมมองระบบนิเวศวิทยา
- ผลกระทบจากระบบทุนนิยม ... โลกเราจะวิ่งเข้าหาจุดสมดุลในที่สุด หลายบริษัทต้องดิ้นรนเติบโตเพื่อเข้าสู่ Safety zone ที่แข่งขันได้
- สภาพแวดล้อมมีผลต่อการเจริญเติบโตของหุ้น ยกตัวอย่าง การประเมินสภาพแวดล้อม (ปัจจัยภายนอก)
- Demand trend ของสินค้าและบริการเติบโต
 - การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีที่ส่งผลต่อความต้องการสินค้า - การพัฒนาสินค้าทดแทนที่คุณภาพดีกว่า...ราคาถูกกว่า
- ความสามารถในการแข่งขันของบริษัท ความสามารถในการปรับตัวตามสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนไป - มาตราการ, นโยบายของรัฐบาล การประเมินบริษัทที่เราสนใจจะลงทุน
- ปัจจัยภายนอก
 - สภาพแวดล้อม เช่น Demand trend เป็นต้น
- ปัจจัยภายใน - DCA, SWOT analysis, งบการเงิน เป็นต้น การเพิ่มคุณค่าของสินค้าและบริการ 
- ยิ่งมีการเพิ่มมูลค่าของสินค้าหรือบริการมากขึ้นเท่าไร...Margin ยิ่งสูงขึ้น เพราะคุณค่าในสายตาผู้บริโภคสูงกว่าต้นทุนการผลิต เช่น การขายหนังสือ...เราไม่ได้ขายกระดาษแต่ขายเนื้อหาที่อยู่บนหนังสือ, การขายอาหาร...เราไม่ได้ขายวัตถุดิบ...แต่เราขายความอร่อย คุณภาพทางโภชนาการ เป็นต้น มองการเติบโตจากปัจจัยเชิงปริมาณ
- รายได้
- รายจ่าย
- กำไร กำไรมาจากไหน? รายได้ - รายจ่าย = กำไร การเติบโตของบริษัทเมื่อเทียบกับอุตสาหกรรมในมุมมองของ Pie chart Pie chart
 - ขนาดตลาดโดยรวม 
- การเติบโตของอุตสาหกรรมโดยรวม
- เค้กชิ้นใหญ่ขึ้น
- ขนาดส่วนแบ่งการตลาด
- การรักษาและเติบโตของส่วนแบ่งการตลาด
- DCA

การเติบโตของรายได้มาจาก (Pie chart)
1. ตลาดโดยรวมเติบโต และ Market share เพิ่มขึ้น
2. ตลาดโดยรวมเติบโต และ Market share เท่าเดิม
3. ตลาดโดยรวมไม่เติบโต แต่ Market share เพิ่มขึ้น (ตลาดโดยรวมเติบโตจากการมีจำนวนผู้บริโภคในอุตสาหกรรมมากขึ้น...รวมถึงจำนวนการใช้จ่ายต่อรายบุคคลเพิ่มขึ้น)

 การมองหา Market share -
1. ศึกษาข้อมูลจากรายงานประจำปี, เอกสาร 56-1 ของทั้งบริษัทที่เราสนใจและบริษัทคู่แข่ง - 2. เก็บข้อมูลจาก sample size รอบตัวเรา ... ถือว่าคนใกล้ตัวเป็นกลุ่มตัวอย่างแล้วดูว่า...มีใครบ้างเป็นกลุ่มเป็นกลุ่มเป้าหมายบ้าง ..ในกลุ่มคนที่เรารู้จักมีคนที่ใช้สินค้าในอุตสาหกรรมที่เราสนใจกี่คน ..ในคนที่ใช้สินค้ามีของบริษัทที่เราสนใจและบริษัทของคู่แข่งเป็นสัดส่วนเท่าไร การเติบโตของรายได้ที่นอกเหนือจาก Pie chart 1. การออกสินค้าตัวใหม่ 2. การขึ้นราคาสินค้า การลดลงของต้นทุน 1. ต้นทุนลดลง เช่น ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ใช้เป็นต้นทุนราคาตกลง 2. ต้นทุนต่อหน่วยลดลง (ต้นทุนเพิ่มในอัตราที่ช้ากว่ากำไร) การเติบโตของกำไร Model ของกำไร กำไร = รายได้ - ต้นทุน ดังนั้น...กำไรจะเพิ่มขึ้นจาก 1. รายได้เติบโตขึ้นแต่ต้นทุนเพิ่มขึ้นในสัดส่วนที่เท่าๆกัน - NPM เท่าเดิม 2. รายได้เติบโตขึ้นแต่ต้นทุนเพิ่มในอัตราที่น้อยกว่า - เกิด Economy of scale 3. รายได้เติบโตขึ้นแต่ต้นทุนลดลง 3. รายได้เท่าเดิมแต่ต้นทุนลดลง Competitive advantage - ความสามารถในการแข่งขัน - ถ้าบริษัทที่เราลงทุนอยู่ในอุตสาหกรรมที่เติบโตสูง...เมื่อผลตอบแทนนั้นหอมหวานก็ย่อมมีคนอยากมาขอส่วนแบ่งเป็นธรรมดา บริษัทที่เราลงทุนต้องมีความสามารถในการแข่งขันจึงจะอยู่รอดและเติบโตได้ในระยะยาวครับ - พัฒนาจนเป็น Durable competitive advantage - DCA ไม่ใช่ความยากในการเข้าสู่อุตสาหกรรม (Entry) อุตสาหกรรมที่มีผู้เล่นน้อยรายเพราะมีผู้เล่นเข้ามายากจะถือเป็น Low competition ซึ่งเป็นเรื่องที่ดี ...แต่อุตสาหกรรมที่เข้ามาง่ายไม่ได้หมายความว่าจะไม่มี DCA เพราะ DCA คือสิ่งที่บริษัทเหนือกว่าคู่แข่ง (ใช้เพื่อแข่งขัน) เมื่อเกิดการแข่งขันบริษัทที่มี DCA ย่อมเหนือกว่า ยกตัวอย่าง Search engine – Google (ความเร็วในการโหลด -> การสร้าง brand -> ครบวงจร เป็นต้น) ลักษณะของบริษัทที่มีความสามารถในการแข่งขัน 1. Brand ที่ได้รับความนิยมสูง...เหนือกว่าคู่แข่งอย่างเห็นได้ชัด ทำให้มีอำนาจการตั้งราคาได้สูงกว่า รวมถึงการตัดสินใจเลือกซื้อโดยไม่ดูที่ราคาเป็นหลัก เลือกที่ความพึงพอใจเป็นหลัก 2. ต้นทุนที่ต่ำกว่า...ทำให้ลดราคาสินค้าได้ถูกกว่าคู่แข่งโดยที่คุณภาพไม่แตกต่างกัน โดยมักจะเป็นอุตสาหกรรมที่ความนิยมของสินค้าและบริการไม่แตกต่างกัน เช่น ธุรกิจ OEM ที่ทำสินค้าวัตถุดิบให้กับบริษัท End product อีกที การบริหารจัดการที่ดีจะช่วยให้มีต้นทุนที่ต่ำกว่าและแข่งขันได้ 3. บริษัทมีทีม Marketing ที่มีความสามารถเหนือกว่า ขายสินค้าได้มากและรวดเร็ว 4. บริษัทมีการขายเร็ว Turnover rate สูง ซึ่งมาจากการบริหารจัดการที่ดี มีทีมขายที่มีประสิทธิภาพ สินค้าไม่ค้างนาน, เข้าสู่ลูกค้ารายใหม่ได้ก่อนและเอาชนะใจลูกค้าได้ 5. บริษัทมีทีมวิจัยชั้นเลิศ (Research and development) ที่สามารถสร้างสินค้าและบริการที่นำคู่แข่งอยู่เสมอ (โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมที่ต้องมีการพัฒนาอยู่เสมอ...เช่น บริษัทยา บริษัทเทคโนโลยี) 6. คุณภาพสินค้าและบริการที่เหนือกว่า...ซึ่งนำไปสู่ความนิยมใน Brand สินค้า 7. มี Connection ที่ดีกับลูกค้าและคู่ค้ามายาวนาน มี Switching cost การประเมินงบการเงินหุ้นเติบโต - งบการเงินคืออดีต...แต่การดูงบการเงินบอกเราได้หลายอย่างเกี่ยวกับธรรมชาติของบริษัทครับ เช่น 1. ธุรกิจเน้น Margin สูง แต่ขายได้น้อย (Turnover ต่ำ) 2. ธุรกิจ Margin ต่ำ เน้นขายได้มาก ผลิตมาก (Turnover ต่ำ) 3. ธุรกิจ Margin ต่ำ เน้นขายได้มาก Stock ของน้อย (Turnover สูง) 4. ธุรกิจ Margin สูงและขายได้มากด้วย (ดีเยี่ยม!!!) - การประเมินให้ดูแบบ Timeline ไม่ดูเฉพาะเวลาใดเวลาหนึ่ง (Cross sectional) การประเมินงบการเงินขึ้นอยู่กับคำถาม / สมมุติฐานที่เราสนใจ? 1. การตรวจสอบการเติบโตของบริษัท 2. การตรวจสอบคุณภาพการเติบโตของบริษัท 3. การตรวจสอบกระแสเงินสด 4. การตรวจสอบความแข็งแกร่งงบการเงินเพื่อที่จะเป็นฐานให้การเติบโต 5. การตรวจสอบผลจากการเปลี่ยนแปลงพื้นฐานบางอย่าง หมายเหตุ - อย่าลืมตรวจสอบความน่าเชื่อถือของงบการเงินจากรายงานผู้ตรวจสอบบัญชี - ดูงบการเงินแล้วคิดย้อนกลับไปความจริงของธุรกิจ...โดยไม่หมกมุ่นแต่กับตัวเลข 1. การตรวจสอบการเติบโตของบริษัท - รายได้เติบโตหรือไม่? เพิ่มขึ้นเพราะอะไร? ลดลงเพราะอะไร? -> รายได้ควรจะเพิ่มขึ้น - ต้นทุนสินค้าและบริการเพิ่มขึ้นในอัตราที่เท่ากับหรือน้อยกว่ารายได้หรือไม่? ต้นทุนเพิ่มขึ้นในอัตราที่มากกว่ารายได้อะไร? ต้นทุนเพิ่มขึ้นในอัตราที่น้อยกว่ารายได้เพราะอะไร? ต้นทุนลดลงเพราะอะไร? -> ต้นทุนควรจะเพิ่มในอัตราที่น้อยกว่าหรือเท่ากับรายได้ ถ้าต้นทุนลดต้องประเมินว่าเกิดจากอะไร...จะยั่งยืนหรือไม่? - กำไรสุทธิที่ได้จากการดำเนินงานเพิ่มขึ้นหรือไม่? -> กำไรสุทธิควรจะเพิ่มขึ้น ตามรายได้ที่เพิ่มขึ้น 2. การตรวจสอบคุณภาพการเติบโตของบริษัท - GPM เพิ่มขึ้นหรือเท่าเดิมหรือไม่? เพราะอะไร? -> บริษัทควรจะรักษา GPM ได้ ... ถ้า GPM ลดลงต้องหาสาเหตุ เช่น ต้นทุนการขายสินค้าเพิ่มขึ้น ลดราคาสินค้าเพื่อรักษายอดขายที่ขายที่ราคาปกติไม่ออก หรือถ้า GPM เพิ่มต้องหาว่าเกิดจากอะไร...มีผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มี Margin สูงมาเพิ่ม หรือว่ามีอำนาจต่อรองต้นทุนได้ถูกลง - NPM เพิ่มขึ้นหรือไม่? เพราะอะไร? -> บางบริษัทมีเรื่องของ Economy of scale ทำให้มี NPM สูงขึ้น - Inventory turnover = ต้นทุนสินค้าขาย / สินค้าคงคลังเฉลี่ย -> หมุนสินค้าได้เร็วจะทำให้ยอดขายสูงขึ้น...Dead stock ลดลง สินค้าไม่เน่าเสีย มีของใหม่หมุนเวียนตลอดเวลา - ROE *** ROE - ROE มีค่าเท่าไร? เปรียบเทียบภายในอุตสาหกรรมเดียวกัน ถ้าค่า ROE สูงกว่าแสดงว่าทำผลตอบแทนต่อการลงทุนได้เหนือกว่า...มีประสิทธิภาพมากกว่า - อย่ายึดติดกับค่า ROE ในอดีต ... ให้ประเมิน Forward ROE - การมีค่า ROE สูง ไม่ใช่คำตอบสุดท้ายของการเติบโต ... ถ้าบริษัทไม่มีการลงทุนเพิ่มเติบเพื่อสร้างรายได้ แล้วปันผลออกมาทุกปี ROE จะสูงเท่าๆเดิมเพราะส่วนของผู้ถือหุ้นไม่เพิ่ม (เพราะปันผลออกมา) และกำไรไม่เติบโตขึ้น - แต่การมี ROE ที่ดีเป็นผลดีต่อการเติบโต...ทำให้บริษัทมีเงินไปลงทุนเพื่อขยายกิจการ ถ้าการลงทุนใหม่ทำได้ดีเหมือนที่ผ่านมา...ยอดขายจะเพิ่ม กำไรจะเพิ่ม เมื่อคิดออกมาเป็น ROE จะสูงเท่าเดิม...แต่กำไรเพิ่มขึ้นเพราะส่วนของทุนใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ - อาจจะใช้ ROTC (Return of total capital) เปรียบเทียบความสามารถของธุรกิจ เพราะบางธุรกิจใช้เงินกู้ระยะยาวมาขยายกิจการเพื่อเพิ่ม ROE - ผมชอบ ROE เกิน 15 % 3. การตรวจสอบกระแสเงินสด - เงินสดของบริษัทเพิ่มขึ้นหรือลดลง? เพิ่มจากเงินสดส่วนใด? กระแสเงินสดจากการดำเนินงาน...กระแสเงินสดจากการลงทุน...กระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงิน -> กระแสเงินสดจากการดำเนินงานควรจะเป็นบวกและเป็นไปในทิศทางเดียวกับกำไรสุทธิ เพื่อให้มีเงินสดไว้จ่ายหนี้และลงทุนต่อไป - กระแสเงินสดควรจะเป็นบวกในช่วงที่การลงทุนใหญ่ได้ทำไปหมดและการลงทุนเริ่มส่งผลแล้ว ทำให้มีเงินสดเพิ่มเพื่อขยายกิจการ ... กระแสเงินสดอาจจะติดลบบ้างในช่วงที่ต้องลงทุนขยายกิจการ ให้ดูว่ามีเงินพอหรือไม่? เช่น ดูเงินดในมือ ดูเพดานในการกู้หนี้ ดูกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน ... ถ้าไม่เพียงพอให้ระวังเพิ่มทุน - เงินสดในมือเมื่อเปรียบเทียบกับหนี้ระยะสั้นและดอกเบี้ยทั้งหมดที่ต้องจ่ายเพียงพอหรือไม่? -> บริษัทควรจะมีเงินสดพอจ่ายหนี้ 4. การตรวจสอบความแข็งแกร่งงบการเงินเพื่อที่จะเป็นฐานให้การเติบโต - หนี้มากน้อยแค่ไหน? - ผมชอบบริษัทที่มีหนี้ที่มีดอกเบี้ยน้อยหรือไม่มากเกินไป เช่น ไม่เกิน E (D ดอกเบี้ย /E < 1) - มีเพดานในการกู้เพิ่มในการขยายกิจการหรือไม่? - หนี้ที่มีดอกเบี้ยเมื่อเปรียบเทียบกับหนี้ที่ไม่มีดอกเบี้ย (เจ้าหนี้การค้า) -> หนี้ที่ไม่มีดอกเบี้ยดีกว่าเพราะไม่ต้องเสียดอกเบี้ย เจ้าหนี้การค้ารับภาระต้นทุนทางการเงินแทน 5. การตรวจสอบผลจากการเปลี่ยนแปลงพื้นฐานบางอย่าง - บริษัทให้ข่าวว่ารายได้จะเพิ่ม ... เพิ่มจริงหรือไม่? - บริษัทให้ข่าวว่าลดต้นทุนได้ ... ลดได้จริงหรือไม่? - บริษัทให้ข่าวว่าจะขายสินค้าที่ Margin สูงขึ้น ... GPM เพิ่มขึ้นหรือไม่? เป็นต้น ความเข้าใจเรื่องการประเมินมูลค่า - ไม่แนะนำใช้ PBV ครับ เนื่องจากมูลค่าของหุ้นเติบโตขึ้นกับกระแสเงินสดที่บริษัททำได้มากกว่าที่จะขายทรัพย์สินห้ผู้ถือหุ้นไปแบ่งกัน แล้วทรัพย์สินบางอย่างตีมูลค่าเป็นเงินไม่ได้มากแต่สร้างรายได้และกำไรได้จริง เปรียบเทียบมูลค่าบริษัทกับมูลค่าของต้นยาง ต้นยาง Model (ผมมีประสบการณ์กับสวนยางของพ่อตา) ราคาไม้ยาง = BV (ราคาต้องเติบโตขึ้นตามเวลาเพราะต้นไม่ใหญ่ขึ้น) แต่เราไม่ได้ปลูกต้นยางมาเพื่อตัดไม้ขายตั้งแต่แรก ยาง = Earning (ต้นยางผลิตน้ำยางได้มากขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป และให้เมล็ดไปปลูกเป็นต้นใหม่ได้อีกด้วย) การดู Earning ควรดูระยะเวลาทั้งหมดที่ช่วงชีวิตของต้นไม้ที่ผลิตได้ ดังนั้นนักลงทุนหุ้นเติบโตจะไม่ยึดติดกับ PBV แต่จะให้ความสำคัญกับความสามารถในการทำกำไรในอนาคตของบริษัท ซึ่งค่า Book value ซึ่งเป็นส่วนผู้ถือหุ้นต้องเพิ่มขึ้นเรื่อยๆเช่นกัน ตามการเติบโตของบริษัทเหมือนกับต้นยาง ทำไมตลาดถึงให้ค่า PE ของหุ้นแต่ละตัวแตกต่างกัน มุมมองการให้ค่า PE จากความเข้าใจเรื่อง DCF Model DCF เป็น Absolute valuation ส่วน PE ratio เป็น Relative valuation ผมแนะนำใช้ค่า PE มากกว่าเพราะสายตาตลาดมองค่อนข้างสั้น และการใช้ค่า DCF มีตัวแปรที่มีเปลี่ยนแปลงได้มากมายการคิดในกรอบเวลาที่ยาวนานจะได้ค่าหลายค่า (รวมเป็น range) ครับ ... แต่มือใหม่ควรฝึกคิดแบบ DCF ให้ชินเพื่อให้เข้าใจที่มาของมูลค่า DCF model - มูลค่าของบริษัทเท่ากับผลรวมของกระแสเงินสดอิสระ (FCF) ที่บริษัททำได้ในอนาคต โดยคิดส่วนลดทางการเงินย้อนมายังปัจจุบัน แล้วนำมูลค่าของบริษัท (Firm value) มาหักลบจากมูลค่าของหนี้ (Debt value) เพื่อให้ได้มูลค่าผู้ถือหุ้น (Equity value) โดยที่ FCF = EBIT x (1 -T) + DA - CAPEX - CWC FCF - กระแสเงินสดอิสระ EBIT - กำไรปกติ (normalized EBIT) DA - ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจ่ายต่างๆ CAPEX - เงินลงทุนซื้อสินทรัพย์ CWC - เงินทุนหมุนเวียนที่เพิ่มขึ้น < CAPEX + CWC คือ Investing cash flow กระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุน > T - อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล WACC - ต้นทุนทางการเงินของบริษัท ดังนั้น...ถ้าคิดว่าการคำนวณมูลค่าตามแบบ DCF = Intrinsic value และการให้มูลค่าของตลาดสุดท้ายจะเข้าหา Intrinsic value เช่นกัน ถ้าอนุมานว่า Intrinsic value จากวิธี DCF = (หรือใกล้เคียงกับ) Intrinsic value จากวิธี PE

ดังนั้นตลาดจะให้ค่า PE สูงเมื่อบริษัท


  1. บริษัทมีแนวโน้มที่จะสร้างกระแสเงินสดอิสระได้มากขึ้นเติบโตขึ้น (หุ้นเติบโต PE จะสูงกว่าหุ้นทั่วไป) ถ้า "ปริมาณ" กระแสเงินสดอิสระมีการเติบโตสูงตลาดจะให้ PE สูง ถ้า "ความแน่นอน" ของการเติบโตของกระแสเงินสดสูงตลาดจะให้ PE สูง - ในทางตรงข้าม...ตลาดจะให้ค่า PE ต่ำเมื่อหุ้นไม่มีการเติบโตของกระแสเงินสดอิสระ...หรือขาดทุนลงเรื่อยๆ  
  2. บริษัทใช้เงินลงทุนในสินทรัพย์น้อย เป็นกิจการทีไม่ต้องลงทุนมาก ไม่ต้องซื้อเครื่องจักรขนาดใหญ่ ไม่ต้องเอาเงินสดงเงินกู้ไปลงทุนจำนวนมากๆ ...ใช้แต่ทรัพย์สินทางปัญญาก็สามารถทำกำไรได้ กระแสเงินสดจากการดำเนินงานที่ได้มาจะได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย - ในทางตรงข้าม...ตลาดจะให้ค่า PE ต่ำเมื่อกิจการต้องจ่ายเงินลงทุนหนักแล้วได้ผลตอบแทนไม่คุ้มค่า เงินสดที่ได้มาไม่เคยถึงมือผู้ถือหุ้น 
  3. ช่วงที่ตลาดหุ้นมีการลดภาษีนิติบุคคล ตลาดจะให้ PE สูงขึ้น เพราะ FCF มากขึ้น 
  4. การลดดอกเบี้ยไม่ชัดเจน (ตามสมการควรจะค่า PE สูงขึ้นเมื่อลดดอกเบี้ย) ... เพราะส่วนใหญ่เมื่อ กนง.ลดดอกเบี้ยจะเป็นช่วงที่เศรษฐกิจไม่ดี ซึ่งจะไปชนกับเหตุผลข้อ 1 ที่มองว่า FCF ในอนาคตจะลดลง 


การค้นหาหุ้นเติบโตที่ถูกมองข้าม 

  1. เป็นบริษัทที่อยู่ในอุตสาหกรรมที่ใหม่มาก...เคยประสบความสำเร็จในต่างประเทศแต่ยังไม่มีในประเทศไทย เช่น Modern trade, Communication, IT ในช่วงแรกคนจะตั้งคำถามว่าจะทำได้เหมือนต่างประเทศหรือไม่? ไม่เห็นมีจุดที่แตกต่างในเรื่องความสามารถในการแข่งขันเลย เป็นต้น 
  2. เป็นบริษัทที่อยู่ในอุตสาหกรรมที่เก่าแก่...คนคิดไปเองว่าอิ่มตัวแล้ว แต่จริงๆยังมีการเติบโตอยู่เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้บริโภค เช่น ธุรกิจขนมปัง, ธุรกิจเครื่องประดับ ธุรกิจเสื้อผ้า เป็นต้น 
  3. เป็นช่วงที่รายได้ของบริษัทเติบโตแต่ยังไม่ถึงขั้นเกิด Economy of scale ทำให้กำไรสุทธิน้อย...นักลงทุนที่ดูแต่กำไรสุทธิจะไม่สนใจ แต่พอรายได้เพิ่มเพราะการลงทุนที่ทำไว้ส่งผล ใช้ Fixed cost อย่างเต็มที่มากขึ้นจากยอดขายสูงขึ้น กำไรและกระแสเงินสดจะเติบโตอย่างก้าวกระโดด 
  4. คนคิดว่ามันเป็น "หุ้นปั่น" หุ้นที่ก่อนหน้านี้ที่อาจจะมีปัจจัยพื้นฐานไม่ดีและเกิดการเปลี่ยนแปลงปัจจัยพื้นฐานบางอย่างไปในทางที่ดีขึ้น ทำให้ราคาพุ่งไปก่อน...แต่นักลงทุนจะไม่อยากเข้าไปวิคราะห์เพราะคิดเอาเองวั่นคือ "หุ้นปั่น" ครับ ทั้งที่จริงอาจจะกลายเป็นหุ้นเติบโตไปแล้วก็ได้ 

ค้นหา Super growth stock ที่ยังไม่มีใครเห็นให้เจอก่อนตลาด...นี่คือระดับขั้นสูงของการลงทุนหุ้นเติบโต

 ความเสี่ยงของหุ้นเติบโต 
  • การซื้อหุ้นเติบโตที่แพงเกินไป 
  1. ให้เข้าซื้อหุ้นเติบโตเมื่อประเมินด้วยสมมุติฐาน Conservative or Fair โดยที่มี MOS 30 - 50% 
  2. เล่นหุ้นเติบโตที่ไม่มี MOS อาจจะได้กำไรจากการเติบโตของบริษัท...แต่อาจจะเสียหายจากเหตุการไม่คาดฝันเพราะไม่ได้ป้องกันความเสี่ยงครับ (กลายเป็น High risk High return ทั้งที่จริงควรจะเป็น Low risk High return มากกว่าครับ) 
  • บริษัทเติบโตเร็วเกินไปจนไม่มีคุณภาพด้อยลง โตแบบไม่มีคุณภาพ 
  • ตลาดหมี หุ้นเติบโตราคาจะตกลงมากกว่าหุ้นชนิดอื่นเนื่องจากราคาค่อนข้างสูงรวมทั้งนักลงทุนคาดหวังสูง (ตลาดลดค่า PE ลง) 

การมองจุดซื้อขายหุ้นเติบโต 
  • กำหนดเป็นโซน เป็น range ไม่ใช่กำหนดราคาตัวเลขเดียว เพราะมีผลต่อการตัดสินใจของเรามาก ทำให้ไม่กล้าตัดสินใจซื้อขายเมื่อไม่ใช่ตัวเลขที่เรากำหนดครับ เนื่องตัวเลขราคาในตลาดหุ้นเปลี่ยนแปลงค่อนข้างเร็วตามอารมณ์ตลาด 
  • จำลองสถาณการณ์ที่ไม่คาดฝันล่วงหน้า...เวลาเกิดเหตุการณ์จะไม่ได้ลนลาน เมื่อไรที่ควรเข้าซื้อหุ้นเติบโต? 
  • เมื่อหุ้นเติบโตราคาถูกกว่ามูลค่าที่ควรจะเป็น 

เมื่อไรที่ควรขายหุ้นเติบโต? 
  • เมื่อหุ้นเติบโตไม่เติบโตแล้ว...หมดศักยภาพในการเติบโตแล้ว 
  • เมื่อหุ้นเติบโตราคาแพงกว่ามูลค่า 
  • เมื่อเจอหุ้นเติบโตตัวอื่นที่ดีกว่า 

แนวคิดเรื่อง Mr. Market 
  • อย่าประมาทนายตลาด 
  • ระวัง EMH อย่ามองข้ามเหตุผลว่าราคาทำไมถึงมีส่วนลดมากจากการประเมินของเรา / ราคาส่วนลดจะอยู่อีกนานแค่ไหนเพราะอะไร? 
  • พื้นฐานเหมือนเดิมแต่กำไรลดลงในระยะสั้น...หรือ...พื้นฐานแย่ลงจริงในระยะยาว 
  • ตลาดมีจุดบอด (Blind spot) ในหุ้นเติบโตบางตัวจะถูกมองข้าม เพราะตลาดมัวไปสนใจตัวที่เคลื่อนไหวอย่างรุนแรงอยู่

การพัฒนาจิตใจของนักลงทุนหุ้นเติบโต
  • ลักษณะของมนุษย์ 
  • Short circuit VS Long circuit 
  • Limbic system VS Forebrain 
  • System 1 VS System 2 
คำถาม? 
Bat and ball ราคารวมกัน 1.1 usd
Bat ราคามากกว่า ball 1 usd
Ball ราคาเท่าไร?

เราได้อะไรจากคำถามนี้? 
  • คนเรามีแนวโน้มที่จะใช้ความรู้สึกมากกว่าสมองคิดจริงๆ 
  • ลองหาข้อมูลจริง ข้อเท็จจริง ตัวเลขจริงและเริ่มจากจุดนั้น 
 อติที่ควรระวัง (Bias) 
  1. Overconfidence 
  2. Hindsight Bias 
  3. Anchoring 
  4. Herd Behavior 
  5. Loss aversion 
 เราลงทุนเก่งจริงเหรอ...เพราะเราควบคุมปัจจัยภายนอกไม่ได้เลย เรามองไม่เห็นอนาคต เหตุผลที่ลงทุนกับสิ่งที่เกิดขึ้นจริง
  • นำมาประเมินผล เพื่อพัฒนาความสามารถในการวิเคราะห์ อนุมาน คาดการณ์ของตนเอง 

ตอบคำถามตนเอง? 
  • เราเป็นนักลงทุนแนวไหน? 
  • เป้าหมายของการลงทุนเราคืออะไร? 
  • ผลตอบแทนที่เราต้องการต่อปีคือเท่าไร? 
 สำหรับผม
  • แนวทางการลงทุนที่ไม่ต้องเฝ้าหน้าจอ 
  • แนวทางการลงทุนที่ไม่ต้องตามข่าวทุกวัน 
  • แนวทางการลงทุนที่ไม่ต้องเชียร์หุ้น 
  • แนวทางการลงทุนที่มีเงินสดเข้าพอร์ต 
  • แนวทางการลงทุนที่พัฒนาตนเอง...ยิ่งลงทุนยิ่งเก่งขึ้น 
  • แนวทางการลงทุนที่ใช้ได้ต่อเนื่องเมื่อพอร์ตใหญ่ขึ้น 
  • แนวทางการลงทุนที่ผมมีเวลาอยู่กับครอบครัว ได้ทำงานช่วยเหลือผู้คน 
  • แนวทางการลงทุนที่ปกป้องเงิน้นได้และชนะตลาดในระยะยาวครับ ผมคิดว่าการลงทุนนหุ้นเติบโตตอบโจทย์นี้ได้ 

พัฒนาลักษณะนิสัยที่ดี 
  • เป็นนักฟังที่ดี 
  • เป็นนักอ่านที่มีวิจารณญาณ 
  • เป็นนักเขียน...นักพูดที่มีเหตุผล มีหลักฐาน (ฟัง, อ่าน, หาข้อมูลจริง -> คิด, วิเคราะห์ -> เขียนสรุป, พูดให้ Mentor ฟัง) 
  • การเรียนรู้จากคนเก่ง...ให้คนเก่งเป็น Mentor - ระวังเรื่องอารมณ์และอคติที่เราไม่รู้ตัว เช่น เมื่อมีคนวิจารณ์ข้อเสียหุ้นที่เราถือแล้วเราหงุดหงิดขึ้นมา 
  • ฝึกอ่านแรงจูงใจของผู้เล่นในตลาด เช่น ผู้บริหาร นักลงทุน ผู้ให้ข่าว ให้ดูการกระทำอย่าไปคำพูด 
  • รู้จักฟังความคิดตัวเอง 
  • เล่นหุ้นให้สนุกและมีความสุข...และต้องทำตามเป้าหมาย 

การลอกเซียน 
  • ต่อให้เซียนมากระซิบบอกหุ้น...ก็ต้องคิดวิเคราะห์ด้วยตนเองก่อน ต้องไม่เชื่ออะไรง่ายๆ อย่าลืมว่าไม่มีใครรู้อนาคต 
  • กาลามาสูตร 

 การสร้างวินัยในการลงทุน 
  • มีความชัดเจนในหลักการการลงทุนของเรา...ซึ่งพิสูจน์แล้วว่ากำไรคาดหวัง (Expected profit) เป็นบวกในระยะยาว 
  • เข้าใจที่มาของหลักการลงทุนที่เราใช้...เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่น เช่น เชื่อว่าราคาหุ้นจะเพิ่มเมื่อกำไรเพิ่มขึ้นในระยะยาว 
  • ประเมินและจดบันทึกการตัดสินใจของตนเองว่าทำได้ตามที่วางไว้หรือไม่? (Check list) 
  • การให้รางวัลเมื่อตนเองทำได้ตามแผนและลงโทษเมื่อตนเองไม่ทำตามแผนแล้วเกิดความเสียหาย 
  • หมั่นตรวจสอบว่าผลตอบแทนเป็นบวกหรือไม่? เมื่อทำตามแผนในระยะยาว 
 สุดท้ายนี้ 
  • มีความรักในการลงทุนหุ้นเติบโตจะไม่เหนื่อยที่จะพยายามพัฒนาฝีมือการลงทุน (ฉันทะ) 
  • ไม่มีอะไรทดแทนการพัฒนาตนเองได้ แม้ว่าคุณจะอยู่ใกล้เซียนหุ้น...คุณก็ต้องฝึกฝนตนเองอยู่ดี 
  • เมื่อมีแล้ว...อย่าลืมแบ่งปันให้สังคมด้วย ขอบคุณ 


เขียนโดย Gob Pongsakorn

17 มิถุนายน 2559

จิตวิทยาการลงทุน ตอนที่ 1 /2

การวิเคราะห์ทางเทคนิคเป็นเพียงแนวทางหนึ่งที่จะใช้เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ว่าเราจะซื้อหรือขายเท่านั้น ต่อให้เรามีความรู้เยอะๆ เราก็ไม่สามารถประสบความสำเร็จได้ แต่แนวความคิดในการเล่นหุ้นนั้นสำคัญที่สุด หรือ การมีจิตวิทยาการลงทุนที่ถูกต้อง

ตลาดหุ้นเป็นตลาดดูดเงินเม่าโดยเฉพาะ แต่มันเป็นตลาดที่หอมหวล เพราะกำไรที่ได้เป็นกอบเป็นกำ แต่ก่อนจะกำไรเรามักจะขาดทุนก่อน จนบางคนออกจากตลาดไปเลย มีนักลงทุนเพียง 10% เท่านั้นที่กำไร 10% ที่เท่าทุน แต่ 80% หมดตัว เงินไปไหนหมด ก็ไปอยู่กับคนที่กำไรไงครับ ทำให้เม่าอยากจะพัฒนาตัวเองให้กำไรบ้าง เพื่อจะได้เอาเงินจากคน 80% นั้น ทั้งๆ ที่เราเองนั่นแหละเป็น 80% นั้นมาก่อน ทำไมเราถึงขาดทุนทั้งๆ ที่เรามีความรู้มากมาย นั่นส่วนใหญ่เป็นเพราะการไม่รู้จักว่าตัวเราเป็นใคร หรือ การไม่มีจิตวิทยาการลงทุน นั่นเอง เช่น หากเราเป็น VI แต่เราเข้าเร็วออกเร็ว แบบนี้ไม่ใช่ VI ละ กลายเป็น VIVI เราต้องมาเรียนรู้การจะเป็น VI หรือ VIVI กันอย่างถูกวิธีกันก่อนครับ

เม่า 4 ขั้น มีอะไรบ้าง ผมเองยังเป็นเม่าอยู่เลยครับ เราถึงยังต้องศึกษาอยู่ ผมคิดว่าผมเป็นเม่าขั้นที่ 3 ครับ แล้วคุณหละอยู่ขั้นไหน เราจะแก้ความเป็นเม่าสู่ความเป็นเทพยังไงดี :) เรามารู้จักแมงเม่ากันหน่อยมั้ย

แมงเม่า คือ กลุ่มนักลงทุนเก็งกำไรที่ชื่นชอบความเสี่ยง เล่นหุ้นตามข่าว ตามกระแส มีทั้งเก่งและไม่เก่งคละกันไป
  • เม่าขั้นที่ 1 เป็นแมงเม่าขั้นแรก มักมองโลกในแง่ดี ผมก็เป็นนะ ตอนเล่นหุ้นแรกๆ มักจะกำไรช่วงแรกๆ เชื่อคนที่เชียรหุ้น เพราะไม่รู้อะไร ต่อมาก็ขาดทุนบ่อยๆ เราก็ลงทุน VI ทำไมขาดทุนหละ
  • เม่าขั้นที่ 2 เป็นเม่าที่ผ่านการขาดทุนทำให้เรียนรู้ความเจ็บปวด เริ่มเรียนรู้ความเสี่ยง หาความรู้เพิ่มเติม พอเป็นก็รู้สึกว่าตัวเองเก่ง ชอบโชว์พาว แต่จริงๆ อาจจะเข้าใจผิด ทำให้เกิดความมั่นใจเกินเหตุ cut loss ไม่เป็น พอมีกำไรก็รีบขายเพราะกลัวกำไรหด กลายเป็นขายหมู พอขาดทุนก็รีบ stop loss เพราะเรียนมา สุดท้ายจุดที่ stop loss เป็นเป็นจุดกลับตัว เห็นหุ้นขึ้นก็วิ่งเข้าใส่อีก กลายเป็นติดดอย ทำให้ขาดทุนซ้ำซากจากการเด้งเฉยๆ แล้วลงต่อ
  • เม่าขั้นที่ 3 หาทางพัฒนาตัวเอง พยายามใช้ระบบเทรดที่สร้างมาจาก indicator ต่างๆ เช่น rsi, macd, bb, ELW พอจะอยู่รอดได้บ้างกำไรบ้าง ขาดทุนบ้าง เพราะยังไม่เชื่อในสัญญาณทางเทคนิคแต่ชอบเดามากกว่า ทำตามระบบไม่ได้ ประเมินความเสี่ยงต่ำเกินไป ยังไม่มี money management ที่ดีพอ
  • เม่าขั้นที่ 4 เป็นเม่าที่พัฒนามานาน อยู่ในตลาดมาหลายปี ผ่านร้อน ผ่านหนาวมาเยอะ เข้าใจสัจธรรม วิเคราะห์เก่ง มีวินัยการลงทุน เชื่อระบบเทรด เชื่อปัจจุบันมากกว่าอนาคต ไม่โชว์พาว
บทความข้างบน บางส่วนอ้างอิงจากคลิปที่คุณนิพนธ์ออกรายการ stop loss และใส่ความเห็นของผมเข้าไปครับ

วันนี้ผมอยากจะแนะนำให้รู้จักกับคุณนิพนธ์ สุวรรณประสิทธิ์ กรรมการผู้จัดการจาก บล.ไอร่า ศูนย์การเรียนรู้เพื่อการลงทุน QIQP ที่คุณจะได้เรียนรู้เรื่องจิตวิทยาการลงทุนจากรายการ Stop Loss Weekend จะมีต่ออีก 3 ตอน คอยติดตามกันครับ คุณนิพนธ์เป็นหนึ่งใน idol ของผมเลย ลองรับชมกันดูครับ


 ที่มาข้อมูล:
Facebook เบิร์ด-ส่องหุ้น
youtube
Stop Loss Weekend 26-7-57



จิตวิทยาการลงทุน ตอนที่ 2 /2

จากตอนที่แล้ว แมงเม่าคือผู้ล้มเหลวในการลงทุน 80% ขาดทุนหมดตัว มีเพียง 10% เท่านั้นที่กำไร คราวนี้มาดูว่าอะไรเป็นสาเหตที่ทำให้แมงเม่าเป็นแบบนั้น เรามาดูอาการก่อนการวินิจฉัยโรค ผมสรุปมาโดยอ้างอิงจาก video ที่คุณนิพนธ์พูดเอาไว้ เพื่อให้พวกเราได้เรียนรู้ไปด้วยกันครับ ลองดูวีดีโอนี้

อารมณ์ของแมงเม่า

แมงเม่ามักจะเข้าทำการซื้อขายตามความเคยชินในอดีต โดยขาดสติ มีอารมณ์ ความโลภและความกลัวเป็นที่ตั้ง มีการซื้อขายหุ้นตามข่าว หรือ เชื่อตามที่นักวิเคราะห์บอกมา ชอบซื้อหุ้นที่ขึ้นแรงๆ และขายล้างพอร์ตเมื่อลงแรงๆ หากขาดทุนก็มักจะพยายามเอาคืนเดี๋ยวนั้น แมงเม่ามักอยากรู้ว่าทำไมตลาดลงหลังจากตกใจขายหุ้นไปแล้ว “รู้งี้” ไม่ขายดีกว่า

ความเชื่อของแมงเม่า

แมงเม่ามักเชื่อว่านักวิเคราะห์จะทำให้ตัวเองรวยได้ ชอบคนที่มีความคิดเห็นตรงกับตัวเอง มักเชื่อหมอดู มักโทษคนอื่นที่ทำให้เสียหาย มักเป็นพวกวิตกจริต ชอบวันที่หุ้นบวก เกลียดวันที่หุ้นลบ

พฤติกรรมการถือหุ้น

แมงเม่ามักตัดสินใจซื้อหุ้นเร็ว และชอบถือหุ้นระยะสั้นมาก ไม่เกิน 3 วัน ไม่ชอบ let profit run แต่จะถือหุ้นนานๆ เมื่อติดดอยโดยไม่คิดแก้ไขใดๆ แล้วก็ปลอบใจตัวเองว่าได้กินปันผล เพราะ cut loss ไม่เป็น ทำให้ let loss run หลายๆ ครั้งมักซื้อหุ้นตัวเดียวเต็มพอร์ท แมงเม่ามักจะชอบแหกกฏตัวเอง พอขึ้นถึงเป้าแล้วก็ไม่ขาย ปรับเป้าไปเรื่อยๆ ทำให้ขาดความระมัดระวังเวลากำไรมากๆ แมงเม่ามักจะขายหุ้นที่มีกำไรออกไปและถือหุ้นที่ขาดทุนไว้แทน เพราะไม่อยากขาดทุนแมงเม่าเชื่อว่ามีทฤษฎีที่ทำให้ตัวเองกำไรจากตลาดหุ้นทุกวันได้ ชอบใช้กราฟเทคนิครายนาทีในการซื้อขาย ซึ่งปกติต้องใช้กราฟ month กราฟ week ในการลงทุนระยะปานกลาง การใช้กราฟ day ยังเป็น time frame สำหรับเก็งกำไรอยู่

พฤติกรรมการเลือกหุ้น
แมงเม่าชอบเล่นหุ้นตัวเล็กๆ มักจะซื้อหุ้นตัวเดิมๆ ที่เป็นหุ้นปั่น หุ้นเน่า ไม่รู้ว่ากิจการหุ้นที่ซื้อว่าทำอะไร ซื้อๆไปก่อน เดี๋ยวมันก็ปั่น ชอบเล่นในอุตสาหกรรมเดิมๆ แม้ว่ามันจะตกไปแล้ว Sunset

มาดูทางทฤษฎีกันบ้าง ทางการแพทย์มีการศึกษาเอาไว้แล้ว เมื่อปรับมาใข้กับเรื่องหุ้นจะเป็นอย่างไง เรามาศึกษาเรื่องจิตใจกันหน่อย ทำให้มันถึงมีผลกับเรานัก

จิต คืออะไร จิตเป็นพลังงานที่อาศัยอยู่ในร่างการ เป็นพลังงานที่มีความถี่คลื่นละเอียด จิตสามารถที่เคลื่อนที่ได้เร็วที่สุด
หน้าที่ของจิต
  1. ทำหน้าที่รับสิ่งที่มากระทบแล้วปรุงแต่งอารมณ์
  2. ทำหน้าที่สั่งสมองให้คิด สั่งกายให้ทำงาน
  3. ทำหน้าที่สะสมผลของการกระทำ
จิตมีผลโดยตรงต่อความสำเร็จของนักลงทุน สาเหตหลักที่ทำให้นักลงทุนส่วนใหญ่เสียหายจากการลงทุนและไม่สามารถกลับมาลงทุนให้ประสบความสำเร็จคือ การกลัวความเสี่ยงจนเป็นอาการทางจิต ที่เรียกว่า Risk Aversion Phobia
การลงทุนที่ผิดพลาดแต่ต้น ทำให้นักลงทุนเกิดความกลัว และเข็ดจนไม่กล้าลงทุนอีก อาจจะหันหลังให้ตลาดหุ้นตลอดไป

1. อาการที่เกิดของ Risk Aversion Phobia คือ

1.1. Disposition effect อาการความกลัวความเสียใจจากการลงทุน เช่น
  • ขายหุ้นที่มีกำไรออกไปจนหมด และ ถือหุ้นที่ขาดทุนไว้
  • ขายหมู แล้วกลับไปซื้อหุ้นเดิมอีกในราคาที่สูงขึ้น เพราะกลัวหุ้นขึ้นแรง
  • ถือหุ้นที่ขาดทุน ไม่กล้า cut loss
  • จะเกิดพฤติกรรมอาการอ้างอิงราคา reference point
1.2.  Endowment Effect กลัวเสียใจเมื่อเกิดรายการซื้อขาย
  • ทำให้ตั้งราคาขายหุ้นสูงกว่าความเป็นจริง หรือ ตั้งราคาซื้อหุ้นต่ำกว่าความเป็นจริง ทำให้ไม่ได้หุ้นหรือขายหุ้นก็ไม่ได้ เพราะกลัวว่าหากขายหุ้นแล้วหุ้นขึ้นต่อ เป็นอาการจิตหลอนที่เกิดจากความเสียใจจากการขาดทุน
1.3.  Cognitive Dissonance อาการไม่ยอมรับความจริง
  • ไม่ยอมรับว่าหุ้นกำลังจะลง เช่น SET 1650 จุด แต่จะเชื่อว่าหุ้นลงเมื่อลงใกล้จบแล้ว ทำให้ไม่ยอมขายหุ้น จะยอมขายก็ตอนลงใกล้จบแล้ว และจะไม่เชื่อว่าหุ้นขึ้นจนกว่าหุ้นจะขึ้นจบแล้ว SET 1200 จุด ขณะนี้ 1530 จุดค่อยจะมาซื้อหุ้นตอนปลายๆขาขึ้น
1.4. Sunk Cost Effect  อาการคิดถึงต้นทุน
  • จะคิดถึงต้นทุนในอดีตที่ไม่สามารถเรียกกลับคืนมาได้อยู่ตลอดเวลา ต้นทุนก็คือการขาดทุนนั่นเอง
1.5. Status Quo Bias อาการเพิกเฉย
  • มีแนวโน้มเพิกเฉยต่อการลงทุนที่ผิดพลาด ไม่รู้ไม่ดูไม่เห็นไม่ขาดทุนระยะหนึ่ง แต่สุดท้ายก็ถูกกระตุ้นให้ขายขาดทุน ก็จะเกิดอากากลัวความเสี่ยงในที่สุด
2. พฤติกรรมของนักลงทุนที่นำไปสู่โรคการกลัวความเสี่ยงจนเป็นอาการทางจิต ที่เรียกว่า Risk Aversion Phobia

2.1 Overconfidence มั่นใจในตัวเองเกินไป ทำให้นักลงทุนคิดว่าความรู้ตัวเองมีมากพอ ประเมินความเสี่ยงต่ำเกินไป
  • มั่นใจในตัวเองสูงเกินไป ทำให้ตีข้อมูลผิดพลาด นำไปสู่การตัดสินใจที่ผิดพลาดในรูปแบบการซื้อขายหุ้นบ่อยเกินไป เกิดภาพลวงของความรู้ โดยเชื่อว่ามีความรู้มากคาดการณ์ตลาดได้ถูกต้องมากกว่าข้อมูลน้อย โดยแยกข่าวกับข้อมูลออกจากกันไม่ได้
  • พอร์ตของนักลงทุนที่เชื่อมั่นสูงมักจะมีหุ้นที่มีความเสี่ยงสูง และมักจะเป็นบริษัทขนาดเล็ก และไม่กระจายความเสี่ยง
  • การถือหุ้นอยู่สร้างภาพลวงตาอของการมีอำนาจควบคุมผลตอบแทนของหุ้น
2.2 Trying to break even effect
  • หลังจากขาดทุนหุ้นมามากแล้ว นักลงทุนมีแนวโน้มที่จะลงทุนโดยเพิ่มความเสี่ยงมากขึ้นอีกเพื่อที่จะเอาคืน เช่น ขาดทุนหุ้นพื้นฐานเลยเอาคืนจากหุ้นเก็งกำไรหรือหุ้นปั่น เพราะต้องการทุนคืนโดยเร็ว
2.3 House Money Effect กล้าเสี่ยงบนความสูง
  • ลงทุนที่มีความเสี่ยงมากขึ้นหลังจากที่ได้กำไรช่วงก่อนหน้า เพราะรู้สึกว่าเงินนั้นเป็นเงินกำไรที่ได้จากคนอื่น ผลคือทำให้ซื้อหุ้นราคาสูงเสี่ยงต่อการติดดอย
  • พฤติกรรมเหล่านี้จะไปเสริมพฤติกรรม overconfidence เพราะนักลงทุนมั่นใจเกินขนาด ซื้อขายหุ้นบ่อยที่บนความเสี่ยงสูงๆ
  • เมื่อได้กำไรจากหุ้นซิ่ง ก็เริ่มได้ใจ ไม่ระมัดระวังการลงทุน กล้าเอากำไรมาเล่นกับมันอีก แต่เจ้าเลิกเล่นไปแล้ว สุดท้ายหุ้นลงแรง และในที่สุดก็ต้องขายขาดทุนหรือติดดอยไปอีกนานแสนนาน ทำให้หมดตัว
 2.4 Familiarity ลงทุนโดยใช้ความคุ้นเคย
  • นักลงทุนมักเลือกหุ้นที่คุ้นเคย กล้าซื้อโดยไม่วิเคราะห์ก่อน กล้าซื้อหุ้นในกลุ่มที่เคยเล่นแม้จะมันจะตกไปแล้วเป็นขาลง หรือสนใจลงทุนหุ้นในประเทศมากกว่าต่างประเทศ
  • ความคุ้นเคยเชิงพฤติกรรม เช่น ความเคยชินกับตัวหุ้น ความเคยชินกับตลาดหุ้น ความเคยชินกับความผันผวนของหุ้น
2.5 Social Interaction ลงทุนโดยโลก Social นำพาไป
  • เมื่อเกิดอาการ Risk Aversion Phobia ทำให้ขาดความมั่นใจในการลงทุน ก็จะพยายามหาคนช่วย เช่น ฟังความเห็นของนักวิเคราะห์ มาร์เก็ตติ้ง เพื่อนในเฟส ในไลน์ ที่มีความเห็นตรงกับตัวเอง โดยไม่ได้ดูเลยว่าพวกเขาก็คิดวิเคราะห์ผิดเหมือนกัน แม้จะมีใบอนุญาตในการวิเคราะห์ก็ตาม

สำหรับผม ผมยอมรับว่าตัวเองยังคงเป็นเม่าอยู่เลย คงต้องหาทางรักษาให้หายละครับ แล้วคุณหละเป็นยังไงครับ ตรงใจมั้ยคราวหน้ามาต่ออีกครับ ว่าคุณเป็นใคร คุณจะแก้ไขตัวเองได้หรือไม่ คุณจะกลับมากำไรได้หรือไม่


 ที่มาข้อมูล:
Facebook เบิร์ด-ส่องหุ้น
youtube
Stop Loss Weekend 26-7-57

จิตวิทยา กับ การลงทุนให้ตลาดหุ้น

ตอนที่ 1/4 :  ทำไมคนส่วนใหญ่ลงทุนหุ้นแล้วขาดทุน



ตอนที่ 2/4 :  อาการของแมงเม่าในตลาดหุ้น



ตอนที่ 3/4 :   6 จริต"ของคน กับการลงทุนในหุ้น



ตอนที่ 4/4 อาการของแมงเม่าในตลาดหุ้น

จิตวิทยาและการลงทุน

เมื่อกล่าวถึงจิตวิทยาและการลงทุนในเวลาเดียวกัน โดยส่วนใหญ่เรามักจะหมายถึง พฤติกรรมของนักลงทุนในตลาดหุ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่มีทฤษฎีที่เฉพาะเจาะจง หรือพิสูจน์ความถูกต้องได้ยาก ยังไม่มีผู้ใดที่เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาการลงทุนโดยตรง เนื่องจากแต่ละคนมีพฤติกรรมแตกต่างกันไป แต่ถ้านักลงทุนจำนวนมากมาอยู่ในตลาด ความคิด ความอ่านคล้ายกัน พฤติกรรมลงทุนจะสอดคล้องในลักษณะเดียวกัน เราเรียกว่า “จิตวิทยามวลชน”



คนส่วนใหญ่ยังไม่ค่อยเข้าใจจิตวิทยาการลงทุนมากนัก โดยเฉพาะนักลงทุนมือใหม่ และเชื่อว่ามีจำนวนไม่น้อยที่เป็นนักลงทุนที่อยู่ในตลาดมานานนับ 10 ปี โดยส่วนใหญ่จะเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ลงทุนมาพอสมควร และต้องรู้จักสังเกตความเคลื่อนไหวของตลาดหรือราคาหุ้น "ความรู้ท่วมหัว เอาตัวไม่รอด แต่ถ้ารู้จักตัวเอง รอดได้ในการลงทุนในตลาดหุ้น"

การลงทุนให้ได้ประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายที่ต้องการนั้น เป็นเรื่องส่วนบุคคลของนักลงทุนแต่ละรายขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นความพึงพอใจ อายุ ผลตอบแทนความเสี่ยงที่ยอมรับได้
ข้อมูลการลงทุนเกี่ยวกับหุ้นของบริษัทในตลาด มีอยู่มากมาย แต่ทำไมนักลงทุนส่วนใหญ่จึงไม่ประสบความสำเร็จในการลงทุน ในขณะที่พบว่าการเรียนรู้และเข้าใจจิตวิทยาการลงทุน มีประโยชน์อย่างมาก และเป็นปัจจัยที่ทำให้กลายเป็นนักลงทุนที่ร่ำรวย จึงมีผู้เชี่ยวชาญการลงทุนบางคนมองว่า จิตวิทยาการลงทุนมีส่วนถึง 90% ต่อการประสบความสำเร็จ ในขณะที่ความรู้อื่นๆ มีส่วนเพียงแค่ 10% เท่านั้น ...ถึงแม้ว่าจะวัดคำนวณเป็นสัดส่วนไม่ได้ชัดเจนแต่ก็สะท้อนให้เห็นความสำคัญของเรื่องจิตวิทยาการลงทุนอยู่มากทีเดียว และน่าจะเป็นเหตุผลว่าทำไมนักลงทุนเพียง 5-10% เท่านั้นที่ประสบความสำเร็จในการลงทุนในระยะยาว

นักลงทุนทุกคน ไม่มีใครที่ไม่ต้องการประสบความสำเร็จจากการลงทุน ดังนั้น เมื่อเข้าซื้อหุ้นใดก็ตาม ต่างก็ต้องการให้หุ้นที่ซื้อนั้นขึ้นทันที แม้จะไม่มั่นใจ 100% แต่ก็ไม่มีนักลงทุนคนใดปรารถนาให้หุ้นที่ซื้อราคาปรับตัวลง ดังนั้น เมื่อซื้อหุ้นด้วยความเชื่อมั่น ความเสี่ยงก็จะลดลง จึงควรหาศึกษารายละเอียดให้ดีก่อนเข้าซื้อหุ้น ในขณะที่นักลงทุนที่ซื้อหุ้นด้วยการเก็งกำไร มักจะไม่ต้องการศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับตัวหุ้น หรือบริษัทมากนัก เพียงแต่อาศัยจังหวะซื้อขายทางเทคนิคประกอบ และมักจะขายหุ้นเมื่อมีกำไรในช่วงสั้น และขายหุ้นออกทันทีเมื่อพบว่าเกิดความผิดพลาด

จิตวิทยาการลงทุนไม่ใช่เป็นการเรียนรู้พฤติกรรมของผู้นักลงทุนคนอื่น แต่เป็นการเรียนรู้พฤติกรรมการลงทุนของตัวนักลงทุนเอง หรือต้องหาความรู้จากจิตใจของตัวเองให้ได้ ก่อนที่จะหาความรู้อื่นๆ จากภายนอก

จัดการความโลภ และความกลัว

จิตวิทยาการลงทุนมักจะเกี่ยวข้องกับความโลภและกลัว 2 สิ่งนี้เป็นปัจจัยสำคัญที่กำหนดพฤติกรรมของนักลงทุน ซึ่งมักจะมีส่วนทำให้ประสบความสำเร็จในการลงทุน หรือล้มเหลวในการลงทุน
“ความโลภ” จะทำให้นักลงทุนเข้าซื้อหุ้นโดยไม่ได้ศึกษาข้อมูลอย่างรอบคอบ หรือมักจะไม่พอใจกับกำไรที่ได้แต่อยากได้กำไรมากขึ้นไปอีก ในขณะที่ “ความกลัว” ทำให้นักลงทุนขายหุ้นเร็วเกินไป

ความแตกต่างของนักลงทุนที่สำเร็จและล้มเหลว

สุภาษิตที่กล่าวว่า “ตาบอดคลำช้าง” ใช้ได้เช่นเดียวกันกับการลงทุน นักลงทุนพวกแรกมองว่าหุ้นที่ปรับตัวลงเป็นโอกาสดีที่จะซื้อได้ในราคาถูก แต่อีกพวกหนึ่งกลับมองว่าหุ้นที่ปรับตัวลง เป็นหุ้นที่กำลังแย่ มุมมองที่แตกต่างกัน ของนักลงทุนจึงทำให้เกิดพฤติกรรมการลงทุนที่ล้มเหลวหรือสำเร็จ นี่เป็นบางตัวอย่างที่จะชี้ให้เห็นความแตกต่างของนักลงทุนทั้ง 2 กลุ่ม

นักลงทุนที่ล้มเหลวส่วนใหญ่ขายหุ้นตามผู้อื่น โดยเฉพาะในช่วงที่นักลงทุนอยู่ใกล้ตลาดมากเกินไป อาจทำให้เกิดเรารู้สึกว่าควรจะต้องขายหุ้นตามนักลงทุนส่วนใหญ่ ซึ่งมักจะทำให้เขาขายหุ้นในราคาที่ลงเกือบจะต่ำสุดแล้ว ในขณะที่นักลงทุนที่ประสบความสำเร็จส่วนน้อยที่มักจะมองหาจังหวะเข้าซื้อหุ้นในช่วงที่ราคาหุ้นถูกขายออกอย่างหนักและราคาหุ้นเริ่มต่ำเกินไปแล้ว และขายหุ้นในช่วงที่ราคาใกล้จะอยู่สูงสุด

นักลงทุนที่ประสบความสำเร็จ ต้องคิดแตกต่างจากนักลงทุนทั่วไป อย่างไรที่เรียกว่าแตกต่าง อย่างเช่น นักลงทุนส่วนน้อยที่มีความคิดว่าการลงทุนเป็นการทำธุรกิจ จึงทุ่มเทให้กับการลงทุน ศึกษารายละเอียดสิ่งที่จะลงทุน มองหาโอกาสใหม่ๆ และพยายามจำกัดความเสี่ยง มองว่าการลงทุนเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต มีอาชีพเป็นนักลงทุน (นักลงทุนมืออาชีพ) ซึ่งนักลงทุนจะต้องศึกษาหุ้นที่จะลงทุนอย่างละเอียด มีการวางแผนการลงทุนอย่างเป็นขั้นตอน ในขณะที่นักลงทุนส่วนใหญ่มักจะลงทุนตามกระแสข่าว

นักลงทุนที่ดีมีการตั้งเป้าหมายการลงทุน ด้วยการวัดออกมาเป็นตัวเลขผลกำไรที่ต้องการในระยะยาว ซึ่งโดยทั่วไปเราจะมองเป้าหมายการลงทุนระยะยาวเป็นรายปี อย่างเช่น 5 ปี 10 ปี หรือ 20 ปี ลองนึกภาพว่าในอีก 20 ปีข้างหน้า เงินลงทุนในหลักทรัพย์ของเราจะเป็นเท่าใด ถ้าวันนี้เราอายุ 30 ปี ดังนั้น เรามีเวลาลงทุนได้ถึง 20-30 ปี หุ้นที่ลงทุนจะเน้นในเรื่องผลกำไรจากราคาที่เปลี่ยนแปลงไป ไม่ค่อยเน้นในเรื่องเงินปันผลเท่าใดนัก แต่ถ้านักลงทุนมีอายุ 50 ปี ระยะเวลาลงทุนที่จำกัดเพียงแค่ 10 ปี ก็จะไม่สามารถยอมรับความเสี่ยงของหุ้นที่จะลงทุนได้มากนัก หุ้นที่ลงทุนส่วนใหญ่จะเน้นไปที่หุ้นปันผล แตกต่างจากนักลงทุนที่ล้มเหลวส่วนใหญ่ ซึ่งมองเพียงแค่การทำกำไรระยะสั้นเพียงวันต่อวันเท่านั้น และมักจะต้องหาหุ้นซื้อขายอยู่ตลอดเวลา

เมื่อเห็นประโยชน์ของจิตวิทยาการลงทุนเช่นนี้แล้ว นักลงทุนที่ยังล้มเหลวและต้องการประสบความสำเร็จน่าจะลองนำมาเป็นองค์ประกอบในการตัดสินใจลงทุนในทุกๆ ครั้ง

ที่มาของข้อมูล :
http://www.tsi-thailand.org
http://www.plukrak.co.th/index.php/resources/other-articles/item/108-psychology-investment/108-psychology-investment

หาจุดเปลี่ยนแนวโน้มกับ PARABOLIC SAR

เครื่องมือพาราโบลิก PARABOLIC SAR 

ปัญหาประการหนึ่งที่ทำให้นักลงทุนบางกลุ่มวิจารณ์ว่า การวิเคราะห์ทางเทคนิค (TECHNICAL ANALYSIS) ขาดความน่าเชื่อถือ คือ ความล่าช้าเนื่องจากเวลา (TIME LAG) เพราะการเคลื่อนที่ของเครื่องมือเทคนิคชนิดต่าง ๆ จะตามหลังราคาหรือดัชนีเสมอ ดังนั้นแนวโน้มที่ได้จึงไม่น่าเชื่อถือ เพราะเกิดจากสิ่งที่ได้เกิดขึ้นแล้ว ซึ่งนาย J. WELLES WILDER ได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว จึงได้สร้างเครื่องมือเทคนิคตัวใหม่ขึ้นมาที่เรียกว่า พารา-โบลิก (PARABOLIC)


 เพื่อลดความล้าหลังของการวิเคราะห์ทางเทคนิค โดยการเพิ่มความเร่งของสัญญาณของแนวโน้ม เมื่อราคาสามารถทำยอดสูงใหม่หรือต่ำใหม่ โดยพิจารณาให้ความสำคัญเรื่องราคาและเวลาเป็นหลัก และสัญญาณที่ได้เรียกว่า จุดเปลี่ยนแนวโน้ม หรือ STOP AND REVERSAL (SAR) และด้วยเหตุที่ SAR มีการเคลื่อนที่คล้ายรูปแบบ PARABOLIC CURVE เครื่องมือตัวนี้ จึงถูกตั้งชื่อว่า PARABOLIC ณ จุดนี้เองที่บอกนักลงทุนว่าควรเปลี่ยนสถานภาพ

กล่าวคือ ถ้านักลงทุนทำการซื้อและถือหุ้นอยู่ (LONG POSITION) และเมื่อเกิด SAR ในวันรุ่งขึ้นอยู่เหนือราคาหุ้น ควรที่นักลงทุนจะขายหุ้นดังกล่าวออกไป หรือในทางตรงกันข้ามถ้าเป็นผู้ขาย (SHORT POSITION) เมื่อเกิด SAR ในวันต่อไปอยู่ต่ำกว่าราคาหุ้นในวันนั้น 

นักลงทุนควรที่จะซื้อหุ้นนั้นคืนมา สำหรับคุณสมบัติการเคลื่อนตัว ถ้าเป็นกรณีซื้อและถือหุ้นอยู่ (LONG POSITION) SAR จะเคลื่อนที่สูงขึ้นทุก ๆ วัน ไม่ว่าราคาจะเคลื่อนไปทางใด ส่วนจะมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับทิศทาง และความแรงของการเคลื่อนไหวของราคา (PRICE FUNCTION) ซึ่งโดยปกติถ้าราคาหุ้นเพิ่มสูงขึ้นทำยอดสูงใหม่ SAR จะเคลื่อนที่ตามราคาแต่ในอัตราที่เร็วกว่า จนกระทั่ง SAR เคลื่อนที่เข้าใกล้ราคาแล้วกระโดดขึ้นไปอยู่เหนือ ดังนั้นควรที่จะขายหุ้นในวันแรกที่ SAR อยู่เหนือราคาหุ้น

ในทางกลับกัน ถ้าเป็นกรณีขายหุ้น (SHORT POSITION) SAR จะเคลื่อนที่ต่ำลงเรื่อย ๆ แต่จะมีอัตราที่เร็วกว่าราคาหุ้นในกรณีที่ราคาทำยอดต่ำใหม่ จนกระทั่งเข้าใกล้ราคาและกระโดดลงไปอยู่ใต้ราคาในที่สุด ดังนั้นควรที่จะซื้อหุ้นในวันแรกที่ SAR อยู่ต่ำกว่าราคาหุ้น สำหรับค่า SAR ที่คำนวณจากข้อมูลปัจจุบัน จะใช้เป็นค่าที่ชี้แนวโน้มของตลาดหรือราคาหุ้น เพื่อการตัดสินใจในวันรุ่งขึ้น



การคำนวณ

 SARt-1 = SARt AF(EPt - SARt)

 SARt-1 คือ ค่า SAR ในวันรุ่งขึ้น
 SARt คือ ค่า SAR ในวันปัจจุบัน
 EPt คือ ราคาต่ำสุดในวันนั้นกรณีขายหุ้น (SHORT) และราคาสูงสุด ในวันนั้น

กรณีซื้อหุ้น (LONG) AF คือ ค่าความเร่ง โดยเริ่มต้นที่ 0.02 และเพิ่มขึ้น 0.02 ทุก ๆ ครั้งที่เกิดยอดสูงใหม่ในแนวโน้มขึ้น หรือต่ำใหม่ในแนวโน้มลง และจะสะสมไปได้มากที่สุดที่ 0.2 แต่ถ้าไม่เกิดยอดสูงหรือต่ำใหม่ จะใช้ค่าเดิม ไปจนกว่าจะเกิดยอดสูงใหม่หรือต่ำใหม่ สำหรับความถูกต้องของสัญญาณจากเครื่องมือ PARABOLIC จะขึ้นอยู่กับลักษณะการเคลื่อนตัวของราคาหุ้น โดยถ้าหุ้นมีแนวโน้มที่ชัดเจนไม่ว่าขึ้นหรือลง (UPWARD OR DOWNWARD) ความน่าเชื่อถือของสัญญาณจะมีมาก แต่ถ้าการเคลื่อนที่ของหุ้นมีทิศทางไม่แน่นอนหรือขึ้นลงสลับกัน (SIDEWAYS) ความแม่นยำของสัญญาณก็จะลดลง

ดังนั้นนาย WILDER จึงได้สร้างเครื่องมืออีกตัวหนึ่งขึ้นมา เพื่อช่วยกลั่นกรองความถูกต้องของสัญญาณจาก PARABOLIC คือ AVERAGE DIRECTIONAL MOVEMENT (ADX) (รายละเอียดของการคำนวณ และการวิเคราะห์ได้กล่าวไว้ในหัวข้อ DIRECTIONAL MOVEMENT) โดยตัว ADX นี้ถูกกำหนดการเคลื่อนไหวอยู่ระหว่าง 0 ถึง 100 (ไม่เคลื่อนไหวจนถึงเคลื่อนไหวมาก) โดยบอกถึงว่า ถ้าตัว ADX มีค่ามาก ๆ แล้ว ตลาดนั้นหรือหุ้นตัวนั้นมีทิศทางการเคลื่อนไหวที่ชัดเจน ซึ่งจะทำให้สัญญาณจาก PARABOLIC มีน้ำหนักในความน่าเชื่อถือมากตาม นอกจากนั้นนาย WILDER ยังกล่าวต่อไปอีกว่า ค่าของ ADX ที่จะชี้ถึงความน่าเชื่อถือในสัญญาณของ PARABOLIC อย่างน้อยไม่ควรต่ำกว่า 20 และเวลาที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการใช้ค่าของ ADX ในการกลั่นกรองสัญญาณของ PARABOLIC คือเมื่อ ADX ไต่ระดับสูงขึ้น

สัญญาณของ SAR :

กรณีน่าเชื่อถือสูง คือ 1, 4
กรณีที่น่าเชื่อถือปานกลาง คือ 2
กรณีที่น่าเชื่อถือน้อย คือ 3

>> จุดที่ควรขาย คือ จุดที่ SAR อยู่เหนือดัชนี หรือราคาหุ้น และเส้น ADX เริ่มไต่ระดับสูงขึ้น ซึ่งก็คือจุด A ในกราฟ

>> จุดที่ควรซื้อ คือ จุดที่ SAR อยู่ใต้ดัชนี หรือราคาหุ้น และเส้น ADX เริ่มไต่ระดับสูงขึ้น ซึ่งก็คือ จุด B ในกราฟ

ที่มาของข้อมูล :

http://www.sornhoon.com/d-parabolic-sar.aspx
http://bidschart.com/news/285

12 มิถุนายน 2559

บันทึกกราฟหุ้นไว้ดูเล่นๆ เป็นกรณีศึกษาการวิเคราะห์หุ้นด้วยกราฟเทคนิคเคิล

(คัดลอกมาจาก https://www.facebook.com/groups/361137493969724/)

บันทึกกราฟหุ้นไว้ดูเล่นๆ เป็นกรณีศึกษาการวิเคราะห์หุ้นด้วยกราฟเทคนิคเคิล
มิได้มีเจตนาชักชวนชี้นำให้ซื้อขายแต่อย่างใด โปรดใช้สติปัญญาพิจารณาไตร่ตรองโดยรอบคอบ (...ตนแลคือที่พึ่งแห่งตน...) ^^
...เรียนให้รู้...ดูให้จำ...ทำให้ได้...กำไรแน่นอน...
=> ปูพื้นฐานวิเคราะห์หุ้นด้วยกราฟเทคนิคคอล 
/ introduction / cycle / trend / moving average / golden rules /
http://www.richerstock.net/rs/index.php…
++รวยหุ้นด้วยกราฟ++
http://issuu.com/pairoj/docs/_______________-issuu
คู่มือการวิเคราะห์ทางเทคนิค โดย สุรชัย ไชยรังสินันท์
http://inv4.asiaplus.co.th/cms/index2.php…

++ ศึกษาเรื่องแนวโน้ม / แนวรับแนวต้าน / ฝึกลาก Trendline ++
มองแนวโน้มให้ออกก่อน

http://www.facebook.com/photo.php?fbid=101815839898461&set=a.101815789898466.3576.100002101358163&type=3&theater

ฝึกตี Trendline สไตล์ Wizard Kid
http://wizard-kids2m.blogspot.com/view/snapshot

++วิธีใช้เครื่องมือ Indicators แบบง่ายๆ++
http://www.chiangmaifx.com/images/web/indicator.htm

++ ศึกษาระบบเทรดต่างๆ ++
ระบบเทรด Peak and Trough (PnT closing price)

http://www.facebook.com/photo.php?v=117503734996338&set=t.100002101358163&type=3&theater

++การใช้โปรแกรม eFin. Scan หาสัญญานหุ้นที่เข้าเงื่อนไขตามต้องการ++
https://www.facebook.com/photo.php?v=208408062572571&set=vb.100002101358163&type=2&theater

บทความเทคนิคอล และ VDO

บทความเทคนิคอล และ VDO
-------------------
ทำไมต้องใช้เทคนิคอล
http://www.cwayinvestment.com/…/06/why-technical-analysis.h…
1.เมื่อเทคนิคคอลไม่ง่ายอย่างที่คุณคิด!!!!
http://www.cwayinvestment.com/2011/01/blog-post_21.html
2. เทคนิคอล เป็นแค่ “ปาหี่” แบบเขาว่าจริงหรือ
http://www.cwayinvestment.com/2013/08/blog-post.html
3. กุญแจ 4 ดอกสำหรับนักเก็งกำไร
http://www.cwayinvestment.com/2012/11/4.html
4.เรียนรู้การวิเคราะห์เทคนิคอล ด้วย Chartgame
5. 10 golden rulehttp://www.cwayinvestment.com/2012/03/10-golden-trading-rules.html

การวิเคราะห์ข้อมูลราคา(Price)
1.การวิเคราะห์แนวโน้มราคา 1
http://www.cwayinvestment.com/2011/07/1_4.html
2.การวิเคราะห์แนวโน้มราคา 2
4. Candlesticks Pattern
http://www.cwayinvestment.com/…/12/candlesticks-pattern.html
5.เรขาคณิตพิชิตหุ้น
http://www.cwayinvestment.com/2012/01/blog-post_11.html
6. GAP http://www.cwayinvestment.com/2012/05/gap.html
7. Andrews Pitchfork
http://www.cwayinvestment.com/2012/10/andrews-pitchfork.html
10. Price Indicator
http://www.cwayinvestment.com/2011/08/price-indicator-1.html
11. Moving Average
http://www.cwayinvestment.com/…/ema-exponential-moving-aver…
12. Bollinger band
http://www.cwayinvestment.com/2011/08/bollinger-band.html
13. Keltner Channels
http://www.cwayinvestment.com/2012/07/keltner-channels.html
14. MACDhttp://www.cwayinvestment.com/2011/08/macd.html
15. Average Directional Index (ADX)
http://www.cwayinvestment.com/…/average-directional-index-a…
16. Momentum indicator http://www.cwayinvestment.com/2012/…/momentum-indicator.html
17. Relative Strength Index (RSI)
http://www.cwayinvestment.com/…/relative-strength-index-rsi…
18. STOCHASTIC OSCILLATOR
http://www.cwayinvestment.com/…/sto-stochastic-oscillator.h…
19. Commodity Channel Index (CCI)
http://www.cwayinvestment.com/2012/10/cci-indicator.html
20. Parabolic SAR
http://www.cwayinvestment.com/2012/11/parabolic-sar.html
21. Quantitative Qualitative Estimation (QQE)
http://www.cwayinvestment.com/…/quantitative-qualitative-es…
22. ZigZag
http://www.cwayinvestment.com/2012/10/zigzag.html

การวิเคราะห์ข้อมูลปริมาณการซื้อขาย(Volume)

1. volume analysis
http://www.cwayinvestment.com/2011/04/volume-analysis.html
2. OBV (On Balance Volume)
http://www.cwayinvestment.com/…/…/obv-on-balance-volume.html
3.VAD (Variable_Accumulation_Distribution)
http://www.cwayinvestment.com/…/vad-variableaccumulationdis…
4. Fund flow กระแสเงินต่างชาติ
http://www.cwayinvestment.com/2012/07/fund-flow1.html
http://www.cwayinvestment.com/2012/07/fund-flow2.html

รูปแบบ VDO

-Trend Line & Channel
https://www.youtube.com/watch?v=Dg4tpm_5keA
-Moving average
https://youtu.be/3fQU-3PxIGI
-Pivot Point Strategies
https://www.youtube.com/watch?v=1TkcCuWBLZg
-Advance bollinger bands
https://youtu.be/-STXXKQmpPI
-ADX
https://www.youtube.com/watch?v=5EdS_n_0MYQ
-OBV
https://www.youtube.com/watch?v=rMcC-Fzh270
-Ichimoku Kinko Hyo
https://youtu.be/nveGbLRY9rk
-Parabolic SAR
https://youtu.be/DwADpj6fB04
- High probability price pattern
https://www.youtube.com/watch?v=MxCrcPndW1g
-Pinbar Strategies
http://goo.gl/fv76Pd
-Bill Williams’ trading system
(A/C, Alligator ,Awesome Oscillator ,Fractals ,Gator Oscillator)
http://goo.gl/xQySKw
-volume analysis
https://youtu.be/oJdGIxEXIxU

1 มิถุนายน 2559

ทำไมเราชอบซื้อหุ้นขาลง

ทำไมเราชอบซื้อหุ้นขาลง
คัดลอกมาจาก Stock2morrow
เครดิตบทความโดย..... ธนาคารเกียรตินาคิน 

กฎการลงทุนของ Jesse Livermore หมีใหญ่แห่งวอลสตรีท ผู้ที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นตำนานของนักเก็งกำไรที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่ง ในโลก เขาทำกำไรกว่า 100 ล้านเหรียญสหรัฐ จากการ Short ดัชนีในช่วงวิกฤตปี 1929 กฎการลงทุนของเขาสรุปย่อๆ มีดังนี้


  1. ซื้อหุ้นที่กำลังเป็นขาขึ้น และขายหุ้นที่กำลังเป็นขาลง
  2. อย่าเทรดทุกวัน จงเข้าเทรดเมื่อตลาดหรือหุ้นเริ่มแสดงความชัดเจนว่าอยู่ในขาขึ้นหรือขาลง และเทรดไปในทิศทางเดียวกันกับตลาดเท่านั้น
  3. ใช้จุดวกกลับ หรือจุดกลับเทรนด์ (Pivot Points) ควบคู่ไปกับการเทรดของคุณเสมอ
  4. เข้าเทรดหลังจากที่ตลาดหรือราคาหุ้นได้ยืนยันความคิดของคุณ และควรลงมืออย่างรวดเร็ว
  5. การเทรดที่ได้กำไรให้ทำต่อไป ยุติการเทรดที่มีผลขาดทุน (Cut Losses Short)
  6. ปิดการเทรดเมื่อเห็นชัดเจนว่าหุ้นที่คุณกำลังได้กำไรอยู่ เริ่มถึงจุดเปลี่ยนเทรนด์แล้ว
  7. ไม่ว่าจะเทรดในอุตสาหกรรมไหนก็ตาม จงเลือกหุ้นนำตลาด (Leading Stock) หุ้นที่แสดงให้เห็นเทรนด์ที่แข็งแกร่งที่สุด
  8. อย่าถัวเฉลี่ยหุ้นที่ขาดทุน (Never Average Losses)
  9. รู้จักการบริหารจัดการเงิน เผื่อเงินสำรองให้ครอบคลุม Drawdown ที่รับได้เมื่อเขาขั้นวิกฤต รู้จักหยุดขาดทุน จงอย่า Over Trade หรือปล่อยให้ขาดทุนหนักจนให้ถูก Margin Call
  10. Long เมื่อหุ้นทำ New High และ Short เมื่อหุ้นทำ New Low

สิ่งที่น่าสนใจก็คือ ข้อ 5 และข้อ 8 ซึ่งตรงกับพฤติกรรมแห่งความสำเร็จในการลงทุนตามรายงาน การสำรวจพฤติกรรมของนักลงทุนบุคคลธรรมดาที่เน้นการลงทุนระยะสั้นในตลาดหุ้น ไทย ของตลาดหลักทรัพย์ปี 2553 ทำให้ผมมานั่งคิดว่าทำไมคนส่วนใหญ่ถึงชอบขายหุ้นที่กำลังเป็นขาขึ้น แต่ไม่ยอมขายหุ้นที่กำลังเป็นขาลง และกลับทำตรงข้าม คือ ถัวเฉลี่ยหุ้นที่ขาดทุนไปเสียอีก เข้าทำนองที่ว่า ขายหมู ซื้อควายป่วย

เรื่องนี้ผมมองว่าเกิดจากพฤติกรรม 2 อย่างของคนเรา คือ

  1. Loss Aversion คือ การรู้สึกเจ็บปวดเมื่อขาดทุน เมื่อหุ้นกำลังขึ้นก็จะรีบขาย เพราะกลัวว่าถ้าไม่ขาย เกิดหุ้นตกลงมาจะขาดทุน แต่ขณะเดียวกันเมื่อหุ้นตก ก็ไม่ยอมขาย เพราะยอมรับความรู้สึกเจ็บปวดที่ขาดทุนไม่ได้ ก็ทนถือต่อไป คาดหวังว่าเมื่อมันตกได้ เดี๋ยวมันก็ขึ้นได้ (ก็มันเคยขึ้นมาแล้วนี่)
  2. Reference Point Bias คือ การที่คนเรามักกำหนดจุดอ้างอิงในการตัดสินใจเสมอไม่ว่าจะรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม ในตลาดหุ้นก็เหมือนกัน สมมติว่าเราสนใจซื้อหุ้นตัวหนึ่งเมื่อ 3 เดือนที่แล้วราคาอยู่ที่ 30 บาท ตอนนี้ราคาเป็น 60 บาท ถ้าเป็นคุณ คุณจะตัดสินใจอย่างไร ซื้อหรือรอให้หุ้นตกมาที่ 30 บาทก่อนค่อยซื้อ คนส่วนใหญ่จะมองว่าที่ราคา 60 บาท หุ้นแพงไปแล้ว เพราะจุดอ้างอิงของเขา คือ 30 บาท สมมติว่าคุณตัดสินใจที่จะรอ ปรากฏว่าผ่านไป 2 สัปดาห์หุ้นตัวนั้นไม่ตกกลับพุ่งขึ้นไปถึง 100 บาท แล้วต่อมาตกฮวบลงมาเหลือ 70 บาท ทั้งที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงอะไรเลยทั้งภาวะตลาดและตัวหุ้น


คราวนี้คุณจะตัดสินใจ อย่างไร ซื้อเลยเพราะมองว่าหุ้นถูกเมื่อเทียบกับที่เคยขึ้นไปถึง 100 บาท หรือไม่ซื้อเพราะยังแพงอยู่เมื่อเทียบกับราคา 30 บาท ที่เราเคยมองไว้ แล้วคุณคิดว่าคนส่วนใหญ่ตัดสินใจอย่างไร ใช่ครับ คนส่วนใหญ่จะกลับ มองว่าหุ้นราคา 70 บาท ตอนนี้ถูกน่าซื้อ เมื่อเทียบกับ 60 บาท เมื่อ 2 สัปดาห์ก่อน ทั้งที่เป็นหุ้นตัวเดิม ทุกอย่างเหมือนเดิม 

ทำไมถึงเป็นเช่นนี้ เหตุผลก็เพราะการตัดสินใจของนักลงทุนมักจะขึ้นอยู่กับ จุดอ้างอิง ในกรณี นี้ ราคาหุ้นที่เปลี่ยนไป เป็นจุดอ้างอิงในการตัดสินใจทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น 30, 60, 100, หรือ 70 บาท แต่จุดอ้างอิงที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจมากที่สุด คือ จุดที่ใกล้ที่สุด ดังนั้นตอนที่หุ้นขึ้นจาก 30 บาท เป็น 60 บาท 

เราจึงมองว่าหุ้นแพง แต่ตอนที่หุ้นตกจาก 100 บาท เป็น 70 บาท เรากลับมองว่าหุ้นถูก เพราะเราเปลี่ยนจุดอ้างอิงจาก 30 บาท เป็น 100 บาทนั่นเอง เมื่อพฤติกรรมของคนเราเป็นอย่างนี้ 

จึงเป็นธรรมดาที่คนส่วนใหญ่ชอบซื้อหุ้นขาลง

จะเห็นนะครับว่าอารมณ์มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจลงทุนของเรามากเหลือเกิน (ที่สำคัญทำให้เราล้มเหลวในการลงทุนด้วย เหมือนที่กูรูหลายท่านเตือน) 

เมื่อเป็นอย่างนี้แล้ว เราควรทำอย่างไร ตอบง่ายๆ คือ มีสติ ครับ พูดง่ายแต่ทำยาก เพราะนั่งดูหุ้นทุกวัน ก็มีโลภมีกลัวตามข่าวแต่ละวันอยู่แล้ว เดี๋ยวข่าวแบงก์ชาติออกมาตรการค่าเงินบ้างล่ะ ข่าววิกฤตยุโรปบ้างล่ะ ข่าวยุติ QE ของอเมริกาบ้างล่ะ แล้วทำอย่างไรดี

ในกฎการลงทุนของ Jesse Livermore ก็บอกไว้แล้ว ในข้อ 2 อย่าเทรดทุกวัน จงเข้าเทรดเมื่อตลาดหรือหุ้นเริ่มแสดงความชัดเจนว่าอยู่ในขาขึ้นหรือขาลง และเทรดไปในทิศทางเดียวกันกับตลาดเท่านั้น เพื่อไม่ให้อารมณ์ตลาดครอบงำเรา และข้อ 7 เลือกหุ้นดาวรุ่งเท่านั้น คือ ดูที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก ว่าหุ้นถูกหรือแพงเมื่อเทียบปัจจัยพื้นฐาน เราจะได้ไม่ติดกับอารมณ์เราเองไปเทียบกับราคาก่อนหน้า

ปล. เป็นบทความที่ดีมากครับ หากเราไม่รู้อนาคต ก็อย่าไปเดาอนาคต แต่ให้ศึกษาพื้นฐานหุ้น พฤติกรรมตลาด และเทรนด์หุ้น ก็จะสามารถเอาตัวรอดได้ดีกว่า เล่นแบบหมอเดาฟันหักครับ 

11 สิ่งที่คุณจะเรียนรู้ได้จากวอเร็น บัฟเฟตต์


''Whether we're talking about socks or stocks, I like buying quality merchandise when it is marked down.''

1.Value investing works. Buy bargains. การลงทุนเน้นคุณค่าใช้ได้ในทุกสถานการณ์ พยายามซื้อหุ้นที่มีส่วนต่างเพื่อความปลอดภัย

2. คุณภาพของธุรกิจเป็นสิ่งสำคัญ ธุรกิจที่มีคุณภาพสูง ไม่ว่าจะผ่านไปนานเท่าไร ก็ยังมีคุณภาพสูงต่อไป เวลาจะเป็นมิตรกับธุรกิจที่ดี ในขณะเดียวกันจะเป็นศัตรูกับธุรกิจที่มีคุณภาพต่ำ นักลงทุนต้องเฟ้นหาธุรกิจที่มีคุณภาพหรือกำแพงและคูเมืองล้อมรอบอยู่ ..

3. อย่ากระจายความเสี่ยง! อย่าซื้อหุ้น มากตัวจนเกินไปเพียงเพราะต้องการกระจายความเสี่ยง ความเสี่ยงเกิดจากสิ่งที่คุณไม่รู้ว่าได้ทำอะไรลงไป ลงทุนให้เหมือนกับว่าคุณมีโอกาสได้ซื้อหุ้นเพียง 20 ครั้งในชีวิต แน่นอนว่าแต่ละครั้งคุณจะต้องคิดให้ดีก่อนการตัดสินใจซื้อ การเคลื่อนไหวที่บ่อยเกิดไป เราจะยิ่งผิดพลาดมากเท่านั้น

วอเร็น บัฟเฟตต์เคยเขียนเรื่องการซื้อ-ขายหุ้นที่บ่อยเกินไปไว้ในรายงานประจำปีว่า ""นาน มาแล้ว เซอร์ไอแซคนิวตันให้กฎ 3 ข้อของการเคลื่อนที่ของวัตถุซึ่งเป็นผลงานที่เป็นอัจฉริยะ แต่ความสามารถของนิวตันไม่คลุมไปถึงเรื่องการลงทุน เขาขาดทุนมากมายในวิกฤตการณ์ ฟองสบู่เซาท์ซี
เขากล่าวภายหลังว่า "ผมสามารถคำนวณการเคลื่อนไหวของดวงดาวได้ แต่ผมไม่สามารถคำนวณความบ้าคลั่งของคนได้" .... ถ้าเขาไม่ถูกทรมานจากการขาดทุนในครั้งนั้นมากเกินไป เขาคงได้ค้นพบกฎข้อที่ ๔ ของการเคลื่อนไหว นั่นคือ "สำหรับนักลงทุนโดยรวม ผลตอบแทนลดลงเมื่อมีการเคลื่อนไหวเพิ่มขึ้น"

4. ความอดทนและรอคอยเป็นสิ่งสำคัญที่สุด นักลงทุนส่วนใหญ่ไม่สามารถผ่านปัญหาของความอดทนได้ ดังนั้นพวกเขาจึงไม่ประสบความสำเร็จในการลงทุน

5. ความเสี่ยงไม่ได้เกิดจากความผันผวนของราคาหุ้น แต่เกิดจากการกระทำที่คุณไม่รู้ต่างหาก ความผันผวนของราคาหุ้นเรามองเห็นมันเป็นโอกาส โอกาสที่จะได้ซื้อหุ้นที่ดีในราคาที่ต่ำกว่ามูลค่า

6. มันมักจะเกิดเหตุการณ์ที่คาดไม่ถึงอยู่เสมอ ดังนั้น "จงเตรียมพร้อม"

7. ความผิดพลาดในการลงทุน จะทำให้คุณโตขึ้น จงอย่ายอมแพ้

8. ถือเงินสดไว้บ้างเพื่อรอโอกาส เป็นความคิดที่ดีเพราะมันมักจะมีเหตุการณ์บางอย่างที่ทำให้หุ้นตก

9. ความซื่อสัตย์ต่อตัวเองเป็นคุณสมบัติที่สำคัญของนักลงทุน การยอมรับความผิดพลาดจะทำให้เราเติบโตขึ้นอย่างมีคุณภาพ จงเรียนรู้จากความผิดพลาด แล้วอย่าทำมันอีก

10. จงซื้อหุ้นให้เหมือนกับซื้อธุรกิจ เพราะหุ้นคือส่วนหนึ่งของธุรกิจ ถ้าธุรกิจดี ผู้ถือหุ้นก็จะได้ประโยชน์ ในขณะที่ธุรกิจแย่ ผู้ถือหุ้นก็จะแย่ตามไปด้วย จงอย่าสนใจความผันผวนของราคาหุ้นระยะสั้น

11. ทำในสิ่งที่คุณรัก ให้เหมือนกับว่างานประจำของคุณคือการทำงานอดิเรกไม่ใช่งานที่คุณต้องผะอืดผะอมไปทำในทุกๆเช้า

(สรุปจากบทความ The Financial Times : Learning from Warren Buffett)
ตัดลอกมาจาก S2M Stock2Morrow