18 กุมภาพันธ์ 2559

การซื้อขายแยกตามกลุ่มผู้ลงทุน ตั้งแต่ 1 มกราคม 2558 ถึง 17 กุมภาพันธ์ 2559



การซื้อขายแยกตามกลุ่มผู้ลงทุน  ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2558 ถึง 17 กุมภาพันธ์ 2559


  • นักลงทุนสถาบัน มีมูลค่าการซื้อขาย รวม  77,936.93 ล้านบาท 
  • บัญชีบริษัทหลักทรัพย์ มีมูลค่าการซื้อขาย รวม  1,468.90 ล้านบาท 
  • นักลงทุนต่างประเทศ มีมูลค่าการซื้อขาย รวม -165,438.31 ล้านบาท 
  • นักลงทุนภายในประเทศ มีมูลค่าการซื้อขาย รวม  86,032.48 ล้านบาท



SET Market Statistics วันที่ 17-02-2016

Market Statistics
(As of 17/02/2016)
2012
2013
2014
2015
2016
Market Data of SET
SET Index
- Close
1,391.93
1,298.71
1,497.67
1,288.02
1,288.47
- High
1,397.19
1,643.43
1,600.16
1,615.89
1,307.57
- Low
1,036.21
1,275.76
1,224.62
1,261.66
1,224.83
SET50 Index
- Close
945.39
883.4
1,001.01
813.55
814.71
- High
951.29
1,092.27
1,074.80
1,074.39
828.28
- Low
724.43
873.62
829.89
801.81
761.75
SET100 Index
- Close
2,078.67
1,933.11
2,212.63
1,821.66
1,817.60
- High
2,089.35
2,436.81
2,375.29
2,382.15
1,848.41
- Low
1,577.14
1,911.71
1,814.62
1,789.59
1,713.68
SETHD Index
- Close
1,231.91
1,091.62
1,147.66
933.71
943.76
- High
1,241.12
1,317.53
1,289.77
1,240.69
946.99
- Low
1,014.93
1,072.95
1,016.91
901.79
850.94
Market Dividend Yield (%)4/
2.98
3.24
2.94
3.36
3.42
Market P/E Ratio3,4/
18.25
14.6
17.81
22.57
21.16
Market P/BV4/
2.41
2.02
2.13
1.74
1.72
Total Turnover1/
- Volume (M.Share)
1,295,611.90
2,768,476.15
2,771,230.14
2,487,472.68
308,079.19
- Value (M.Baht)
7,615,637.96
11,777,210.10
10,193,179.07
9,997,371.75
1,362,850.62
Daily Average Turnover1/
- Volume (M.Share)
5,288.21
11,299.90
11,311.14
10,236.51
9,335.73
- Value (M.Baht)
31,084.24
48,070.25
41,604.81
41,141.45
41,298.50
Number of Transaction Deals (Deals)
51,439,385
79,449,188
78,794,503
87,879,233
11,496,492
Daily Average Transaction Deals (Deals)
209,956
324,282
321,610
361,642
348,378
Newly Listed Companies
8
13
17
23
-
Delisted Listed Companies
4
1
7
9
-
No. of Companies moved from mai to SET
2
2
4
3
-
No. of Companies moved from SET to mai
-
1
1
1
-
Number of Listed Companies
477
489
502
517
518
Number of Listed Securities
948
1,099
1,592
1,665
1,660
- Common Shares
518
538
560
582
583
- Preferred Shares
9
9
9
9
9
- Warrants
61
75
74
104
105
- Derivative Warrants
345
459
926
947
940
- ETFs
11
16
21
21
21
- Unit Trusts
4
2
2
2
2
- Transferable Subscription Right
-
-
-
-
-
Turnover by Type of Securities
- Common Shares (M.Baht)
7,149,701.29
11,013,478.03
9,426,831.56
9,150,600.52
1,241,870.22
- Common Foreign Shares (M.Baht)
281,672.24
335,049.59
299,370.83
297,314.55
44,802.47
- Preferred Shares (M.Baht)
22.34
16.35
9.43
11.58
1.68
- Preferred Foreign Shares (M.Baht)
1.24
1.8
0.02
-
-
- Warrants (M.Baht)
100,587.12
175,207.32
257,755.07
208,707.96
9,803.16
- Derivative Warrants (M.Baht)
69,019.58
244,961.21
204,556.74
335,302.05
66,021.74
- ETFs (M.Baht)
14,024.27
7,595.24
4,453.75
5,433.21
351.35
- Unit Trusts (M.Baht)
542.2
608.48
1.28
1.89
0
- Transferable Subscription Right (M.Baht)
67.68
292.08
200.39
-
-
Total Capitalization 2,4/
- Par Value (M.Baht)
1,649,649.64
2,296,075.62
2,771,761.65
3,009,960.15
3,017,203.73
- Market Value (M.Baht)
11,831,448.07
11,496,765.17
13,856,283.31
12,282,754.70
12,295,826.24
Note SET added depositary receipt of foreign underlying securities (Unsponsored DR) as a security in Depositary Receipt (DR) type from October 2014 onwards.
1/ Excluding Debentures and Convertible Debentures
2/ Excluding Depositary Receipts, Unit Trusts,Derivative Warrants, Debentures and Convertible Debentures
3/ Property Fund Sector excluded from calculation. (effective 31 March 2009 onwards)
4/ Excluding Foreign listing securities

15 กุมภาพันธ์ 2559

สามคำสามปี โดย ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร


วิธีการลงทุนที่ผมคิดว่าง่ายและปลอดภัยพอสมควรและได้ผลตอบแทนที่ค่อนข้างดีในระยะยาวก็คือ  การลงทุนใน “ซุปเปอร์สต็อก” คือซื้อหุ้นของบริษัทที่  “ดีเยี่ยม”  ในด้านของการตลาด  เช่น  เป็นบริษัทที่ขายสินค้าได้มากเป็นอันดับหนึ่งและมีส่วนแบ่งทางการตลาดมากกว่าคู่แข่งอันดับรองลงมาเป็นเท่าตัว  หรือมีสินค้าที่เป็นที่นิยมของผู้ใช้มากกว่าคู่แข่งมากจนทำให้ลูกค้ายินดีจ่ายเงินเพิ่มขึ้นพอสมควรเพื่อใช้สินค้าของบริษัท  หรือเป็นบริษัทที่ยังไงผู้บริโภคหรือลูกค้าก็ต้องใช้เนื่องจากเป็นกิจการที่ “ผูกขาด” ธุรกิจในพื้นที่นั้น  เป็นต้น  ในด้านของการเงินเองนั้น  บริษัทก็มีฐานะและผลประกอบการที่ดีมาก  มีกำไร  “งดงาม” เมื่อเทียบกับคู่แข่งและเงินลงทุนของตนเอง มีงบการเงินที่  “แข็งแกร่ง”  เนื่องจากธุรกิจนั้นสร้างกระแสเงินสดได้ดีและไม่ต้องลงทุนในเครื่องจักรอุปกรณ์มาก  และสุดท้าย  เราสามารถซื้อหุ้นในราคาที่ถูกหรือ  “ไม่แพง” คิดจากค่า PE และ PB ที่ไม่สูงเกินไป  และ ปันผลตอบแทนที่ไม่ต่ำเกินไป  หรือในกรณีของบริษัทที่ยังไม่ค่อยมีกำไรเนื่องจากกำลังขยายตัวเราก็จะต้องดูเรื่องของ Market  Cap. ที่ไม่สูงเมื่อเทียบกับศักยภาพของบริษัทในอนาคต

หลังจากที่ซื้อหุ้นที่เป็นซุปเปอร์สต็อกแล้ว  โดยปกติเราก็ไม่ต้องทำอะไรมาก  สิ่งที่ต้องทำก็คือ  ติดตามดูสถานะของบริษัทไปเรื่อย ๆ  ว่ามันยังเป็นบริษัทที่ดีเยี่ยมอยู่หรือเปล่า  คู่แข่งเข้ามาแย่งชิงลูกค้าได้มากน้อยแค่ไหน  ถ้าพบว่าบริษัทเริ่มจะ  “เพลี่ยงพล้ำ”  และไม่มีท่าทีว่าจะแก้ไขได้  หรือมีการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรม เช่น มีเทคโนโลยีใหม่หรือรูปแบบการทำธุรกิจใหม่เข้ามาแข่งกับธุรกิจเดิม แบบนี้เราก็อาจจะต้องขายหุ้นทิ้ง  แต่ถ้าไม่ใช่  เราก็ไม่ต้องทำอะไร  ไม่ต้องสนใจว่าราคาหุ้นจะขึ้นหรือลงยกเว้นว่าหุ้นจะขึ้นไปมากจนค่า PE อาจจะขึ้นไปถึง 50-60 เท่า ถ้าเป็นแบบนั้นเราก็อาจจะพิจารณาขายหุ้นทิ้งเพราะมันอาจจะแพงเกินไปจริง ๆ อาจจะเนื่องจากเหตุผลพิเศษเช่นตลาดหุ้นกลายเป็นกระทิงหรือมีการเก็งกำไรในหุ้นที่รุนแรงเกินไป  ส่วนในกรณีที่หุ้นตกลงมานั้น  เรามักจะไม่ขายซุปเปอร์สต็อกเลย

หลายคนบอกว่าตนเองนั้นอยากลงทุนในซุปเปอร์สต็อกเหมือนกันแต่ไม่รู้ว่าหุ้นตัวไหนเป็นซุปเปอร์สต็อกจริง ๆ   หรือรู้ว่าน่าจะเป็นซุปเปอร์สต็อกแต่ก็ไม่รู้ว่ามันแพงเกินไปหรือเปล่า  นอกจากนั้น  บางคนถือหุ้นที่น่าจะเป็นซุปเปอร์สต็อกแต่ก็ไม่รู้ว่าจะขายเมื่อไร  บ่อยครั้งก็รีบขายเกินไป  บ่อยครั้งก็ถือยาวเกินไป  สุดท้ายก็พลาดที่จะได้ผลตอบแทนที่ดีใน “ระยะยาว”  ซึ่งก็ไม่รู้ว่ายาวแค่ไหน  ความไม่เข้าใจหรือความสับสนต่าง ๆ  เหล่านี้มักทำให้การลงทุนในซุปเปอร์สต็อกของหลายคนนั้น  ทำไม่ได้!  และนั่นทำให้หลักการและวิธีการลงทุนง่าย ๆ  แบบนี้กลายเป็นของยาก  เพราะเหตุว่าคนส่วนใหญ่  “ทำใจไม่ได้” เวลาที่เห็นราคาหุ้นขึ้นลงผันผวนรุนแรงทุกวัน ทุกเดือน และทุกปี

วิธีที่จะ “เอาชนะ” จิตวิทยาของเราเองนั้น  ผมคิดว่าเราควรที่จะท่องคำว่า  “สามคำสามปี”  ไว้ในใจตลอดเวลา  สามคำที่ว่าก็คือ  “รายได้เพิ่ม  กำไรเพิ่ม  ปันผลเพิ่ม”  นั่นก็คือ  เราต้องคิด  วิเคราะห์  และมั่นใจว่ากิจการหรือบริษัทนั้นจะมีรายได้ในปีปัจจุบันเพิ่มขึ้น  คำว่ามั่นใจนั้นแปลว่าโอกาสที่รายได้จะเพิ่มขึ้นนั้นสูงมาก  อย่างน้อยอาจจะ 80% ขึ้นไป  โอกาสที่รายได้จะไม่เพิ่มขึ้นนั้นน้อยมากไม่ถึง 20%  การวิเคราะห์ของเราจะต้องไม่ลำเอียงและพิจารณาอย่างถี่ถ้วน  อย่าไปเชื่อการวิเคราะห์ของนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ที่มักจะลำเอียงในทางที่รายได้สูงกว่าความเป็นจริงและมักไม่พูดถึงโอกาสความเป็นไปได้  พวกเขามักจะวิเคราะห์อย่างมั่นใจแต่ก็จะมีอักษรตัวเล็ก ๆ  กำกับไว้ตอนท้ายของบทวิเคราะห์ว่า  ที่พูดมาทั้งหมดนั้นตั้งอยู่บนสมมุติฐานที่….  ซึ่งทำให้การคาดการณ์ต่าง ๆ  ที่กล่าวมานั้น  ไม่ผิด!  ในตอนที่พูด  แต่อาจจะผิดจากความเป็นจริงที่เกิดขึ้นภายหลัง  แต่เมื่อถึงเวลานั้น  ความเสียหายก็เกิดขึ้นแล้วสำหรับคนที่เชื่อบทวิเคราะห์ซื้อหรือขายหุ้น

คำต่อมาก็คือ  กำไรเพิ่ม  นี่ก็เช่นเดียวกัน  เราต้องมีเหตุผลประกอบอย่างชัดเจนและโอกาสที่จะเป็นอย่างนั้นก็ต้องสูงเป็น 80% ขึ้นไป  โอกาสที่กำไรจะลดลงนั้นน้อยมาก    พูดอีกนัยหนึ่งก็คือ  เรามีความมั่นใจมากว่าเมื่อยอดขายเพิ่มขึ้น  ยอดขายนั้นจะก่อให้เกิดกำไรมากขึ้นเนื่องจากบริษัทจะสามารถรักษา Profit Margin หรือกำไรต่อยอดขายเท่ากับปีก่อนหรือสูงขึ้นอย่างแน่นอน  ไม่ใช่ยอดขายเพิ่มขึ้นแต่กำไรต่อยอดขายลดลง  ซึ่งถ้าเป็นแบบนั้นเราก็อาจจะไม่มีกำไรเพิ่ม   การรักษากำไรต่อยอดขายไว้ได้นั้น  เหตุผลต้องชัดเจนและมีโอกาสเกิดขึ้นสูง  เช่น  สินค้าของเรานั้นสามารถตั้งราคาได้เองไม่ใช่เป็นราคาตลาดโลกที่เราควบคุมไม่ได้เป็นต้น

คำที่สามก็คือ  ปันผลเพิ่มขึ้น  นี่ก็ต่อมาจากคำแรกและคำที่สองที่ว่ารายได้เพิ่มขึ้น  และกำไรเพิ่มขึ้น  ซึ่งโดยปกติถ้าเป็นอย่างนั้นและบริษัทมีสภาพคล่องทางการเงินที่ดี  อาจจะเนื่องจากว่าบริษัทขายสินค้าส่วนใหญ่เป็นเงินสดแต่มักซื้อสินค้าเป็นเงินเชื่อ  หรือบริษัทไม่ต้องลงทุนในการซื้อเครื่องจักรและอุปกรณ์มากมายในการทำงานหรือขยายงาน   การจ่ายปันผลก็ควรที่จะเพิ่มขึ้น  ถ้าบริษัทไม่จ่ายปันผลเพิ่มทั้ง ๆ  ที่มีกำไรเพิ่ม  เราก็ต้องดูเหตุผลว่าเพราะอะไร  บางครั้งบริษัทอาจจะจ่ายปันผลเท่าเดิมหรือใกล้เคียงกับของเดิมมากเนื่องจากกำไรที่เพิ่มขึ้นอาจจะไม่มาก  แบบนี้เราก็อาจจะ  “พอทน”  ยอมรับได้

คำทั้งสามที่กล่าวถึงข้างต้นนั้น  ผมต้องขอเพิ่มเงื่อนไขอีกหนึ่งข้อเพื่อไม่ให้เราหลงผิดคิดว่าบริษัทเข้าเกณฑ์หมด  เงื่อนไขที่ว่าก็คือ  รายได้  กำไร และปันผลที่เพิ่มขึ้นนั้น  จะต้องเป็นรายได้  กำไร  และปันผล “ปกติ”  จากการดำเนินงานตาม “ปกติ”  ไม่ใช่รายได้พิเศษ  กำไรพิเศษ  และปันผลพิเศษหรือปันผลเป็นหุ้น ที่  “เกิดขึ้นครั้งเดียว”  เช่น  จากการขายที่หรือขายทรัพย์สินอื่นรวมถึงการขายทรัพย์สินเข้ากองทุนอสังหาริมทรัพย์ที่เกิดขึ้นบ่อย   ในกรณีดังกล่าวนั้น  เราต้องตัดรายการพิเศษออกและคำนวณดูว่า  รายได้  กำไร  และปันผลที่มาจากการดำเนินงานปกติของบริษัทเป็นอย่างไร 

เมื่อเราพบว่า  รายได้  กำไร และปันผลของบริษัทเพิ่มขึ้นหรือคาดว่าเพิ่มขึ้นแน่ด้วยความเป็นไปได้ถึง 80% ขึ้นไปในปีปัจจุบันแล้ว  สิ่งที่จะต้องทำต่อไปก็คือ  เราต้องวิเคราะห์และคาดการณ์ต่อไปอีกอย่างน้อย 3 ปีข้างหน้าว่า  บริษัทจะสามารถทำรายได้เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ  ในอีกอย่างน้อย 3 ปีข้างหน้า  นี่ก็ต้องอาศัยการวิเคราะห์อย่างถี่ถ้วน  ถามตัวเองว่าอีก 3 ปี กิจการจะโตขึ้นไหมเพราะอะไร  ใครเป็นคู่แข่งและจะมีคู่แข่งใหม่ที่น่ากลัวไหม  เทคโนโลยีใหม่จะเข้ามาแย่งลูกค้าจากเราไหม  สิ่งต่าง ๆ  เหล่านี้จะต้องถูกนำมาคิดอย่างไม่ลำเอียง  โอกาสที่เราจะพลาดสูงแค่ไหน  ถ้าคำตอบก็คือ  มีโอกาส 50-50 ที่ยอดขายเราอาจจะไม่เพิ่มขึ้น 3 ปีหลังจากนี้เนื่องจากเหตุผลอะไรก็ตาม  นั่นก็แสดงว่า  เราไม่ผ่านเกณฑ์ 3 ปี  ผมเองคิดว่าถ้าจะให้ผ่านเกณฑ์นี้  โอกาสความเป็นไปได้ควรจะเป็นอย่างน้อย 70-75% ขึ้นไป  ซึ่งนั่นหมายความว่าเรามีความมั่นใจสูงที่ รายได้  กำไร  และปันผลใน 3 ปีข้างหน้านั้นจะเพิ่มขึ้น  เราต้องมั่นใจว่าธุรกิจของบริษัทนั้นจะยังเติบโต  ไม่มีใครมาทำอะไรมันได้  และ ไม่เปลี่ยน  ในอีกอย่างน้อย 3 ปีข้างหน้า

ถ้าเราถือหุ้นที่เข้าเกณฑ์  “สามคำสามปี”  ดังที่กล่าว  เราก็มักไม่ต้องทำอะไร  บางทีไม่ต้องไปคิดด้วยว่าตกลงมันเป็นซุปเปอร์สต็อกจริง ๆ  หรือเปล่า  สิ่งที่ต้องทำก็คือ  คอยติดตาม  ทบทวนและวิเคราะห์กิจการไปเรื่อย ๆ  โดยเฉพาะตอนสิ้นปี  ถ้าผลออกมาบริษัททำได้คือ  มีรายได้เพิ่ม  กำไรเพิ่มและจ่ายปันผลเพิ่ม  เราก็สรุปว่ามันเป็นอย่างที่คาดไว้ในตอนต้นปี  แต่หลังจากนั้นเราก็ต้องวิเคราะห์และคาดการณ์ต่อไปข้างหน้าอีก 3 ปี   ถ้าคำตอบก็เป็นอย่างเดิม  นั่นก็คือ  บริษัทก็จะยังมีรายได้  กำไร  และปันผลเพิ่ม  เราก็จะยังคงถือหุ้นไว้  แต่ถ้าไม่ใช่  เราก็อาจจะต้องทำอะไรบางอย่างที่ไม่เกี่ยวกับเกณฑ์นี้

 data sources : http://portal.settrade.com/blog/nivate/2016/02/08/1691