25 ตุลาคม 2556

การวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน (Ratio Analysis)


1. การวิเคราะห์สภาพคล่องทางการเงิน (Liquidity Ratio)

  • อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียนหรืออัตราส่วนสภาพคล่อง (Current Ratio)
  • อัตราส่วนทุนหมุนเวียนเร็ว (Quick Ratio or Acid Test Ratio)
  • อัตราการหมุนเวียนของลูกหนี้ (Account Receivable Turnover)
  • ระยะเวลาถัวเฉลี่ยในการเรียกเก็บหนี้ (Average Collection Period)
  • อัตราการหมุนเวียนของสินค้าคงเหลือ (Inventory Turnover)
  • ระยะเวลาในการจำหน่าย (ขาย) สินค้า

2. ความสามารถในการหากำไร (Profitability Ratio)

  • อัตรากำไรขั้นต้น (Gross Profit Margin)
  • อัตรากำไรจากการดำเนินงาน (Operating Profit Margin)
  • อัตรากำไรสุทธิ (Net Profit Margin)
  • อัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น (Return On Equity or ROE)

3. อัตราส่วนแสดงประสิทธิภาพในการทำงาน (Efficiency Ratio)

  • อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์รวม (ROA)
  • อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ถาวร (ROFA)
  • อัตราหมุนเวียนของสินทรัพย์ถาวร (Fixed Asset Turnover)
  • อัตราการหมุนเวียนของสินทรัพย์รวม (Total Assets Turnover)

4. อัตราส่วนวิเคราะห์นโยบายทางการเงิน (Leverage Ratio or Financial Ratio)

  • อัตราส่วนหนี้สินต่อทุน (Debt/Equity Ratio)
  • ความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ย (Interest Coverage) (เท่า)
  • อัตราการจ่ายเงินปันผล (Dividend Payout)

 
รายละเอียดของสูตรของการวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน มีดังนี้
 
1.การวิเคราะห์สภาพคล่องทางการเงิน (Liquidity Ratio)

 
1.1 อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียนหรืออัตราส่วนสภาพคล่อง (Current Ratio)

 
อัตราส่วนทุนหมุนเวียน (Current Ratio) = สินทรัพย์หมุนเวียน (CA) /หนี้สินหมุนเวียน (CL)

 
วัด ความสามารถในการชำระหนี้ระยะสั้น ถ้าค่าที่คำนวณได้สูงเท่าใด แสดงว่า บริษัทมีสินทรัพย์หมุนเวียนที่ประกอบไปด้วย เงินสด ลูกหนี้ และสินค้าคงเหลือมากกว่าหนี้ระยะสั้น ทำให้คล่องตัวในการชำระหนี้ระยะสั้นมีค่อนข้างมาก โดยปกติ อัตราส่วน 2 : 1 ถือว่าเหมาะสมแล้ว
 
1.2 อัตราส่วนทุนหมุนเวียนเร็ว (Quick Ratio or Acid Test Ratio)

 
อัตราส่วนทุนหมุนเวียนเร็ว (Quick Ratio) = (สินทรัพย์หมุนเวียน สินค้าคงเหลือ) /หนี้สินหมุนเวียน

 
หรือ( Quick Ratio = CA - Inventory )/CL

 
เป็น การวัดส่วนของสินทรัพย์ที่ได้หักค่าสินค้าคงเหลือ ที่เป็นสินทรัพย์ระยะสั้นและมีความคล่องตัวในการเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ต่ำสุด ออก เพื่อให้ทราบถึงสภาพคล่องที่แท้จริงของกิจการได้ โดยปกติอัตราส่วน 1 : 1 ถือว่าเหมาะสมแล้ว
 
1.3 อัตราการหมุนเวียนของลูกหนี้ (Account Receivable Turnover)

 
อัตราหมุนเวียนของลูกหนี้ (Account Receivable Turnover)

 
A/R Turnover = ขายเชื่อสุทธิ หรือใช้ยอดขายรวม (ครั้ง หรือ รอบ) /ลูกหนี้ถัว เฉลี่ย

 
ลูกหนี้ถัว เฉลี่ย = (ลูกหนี้ต้นงวด + ลูกหนี้ปลายงวด )/ 2

 
หากค่าที่คำนวณได้ มีค่าสูง แสดงถึงความสามารถในการบริหารลูกหนี้ให้แปลงสภาพเป็นเงินสดได้เร็ว
 
1.4 ระยะเวลาถัวเฉลี่ยในการเรียกเก็บหนี้ (Average Collection Period)

 
ระยะเวลาถัวเฉลี่ยในการเรียกเก็บหนี้ (Avg. Collection Period) (วัน) = 365 วัน /อัตราหมุนเวียนของลูกหนี้

 
ยิ่งต่ำยิ่งดี แสดงให้เห็นถึงระยะเวลาในการเรียกเก็บหนี้ว่าสั้นหรือยาว เพื่อให้ทราบถึงคุณภาพของลูกหนี้ ประสิทธิภาพในการเรียกเก็บหนี้ และนโยบายในการให้สินเชื่อทางธุรกิจ
 

 
1.5 อัตราการหมุนเวียนของสินค้าคงเหลือ (Inventory Turnover)

 
อัตราการหมุนเวียนของสินค้าคงเหลือ (Inventory Turnover) = ต้นทุนสินค้าขาย (COGS) /สินค้าคงเหลือเฉลี่ย (Avg. Inventory)

 
สินค้าคงเหลือเฉลี่ย =( สินค้าต้นงวด + สินค้าปลายงวด )/ 2

 
หากค่าคำนวณได้สูง ย่อมแสดงถึงความสามารถในการบริหารการขายสินค้าได้เร็ว
 
 
1.6 ระยะเวลาในการจำหน่าย (ขาย) สินค้า

 
ระยะเวลาในการจำหน่าย (ขาย) สินค้า(วัน) = 365 (วัน) /อัตราหมุนเวียนของสินค้า (Inventory Turnover)

 
ยิ่งขายได้เร็ว (ระยะเวลาสั้น) ยิ่งดี
 
 
2.ความสามารถในการหากำไร (Profitability Ratio)
 
2.1 อัตรากำไรขั้นต้น (Gross Profit Margin)





อัตรากำไรขั้นต้น (Gross Profit Margin)(%) = ขายสุทธิ - ต้นทุนขาย หรือ SALES - COGS / ขายสุทธิSALES

= กำไรขั้นต้น หรือ Gross Profit /ขายสุทธิSALES

ยิ่งสูงยิ่งดี
 

2.2 อัตรากำไรจากการดำเนินงาน (Operating Profit Margin)


อัตรากำไรจากผลการดำเนินงาน(Operating Profit Margin)(%) = กำไรจากการดำเนินงาน(Operating Profit Margin) /ขายสุทธิ (SALES)

 ยิ่งสูงยิ่งดี

 
2.3 อัตรากำไรสุทธิ (Net Profit Margin)



อัตรากำไรสุทธิ (Net Profit Margin)(%) = กำไรสุทธิ (Net Profit) /ขายสุทธิ(SALES)

 
ยิ่งสูงยิ่งดี แสดงให้เห็นประสิทธิภาพในการดำเนินงานของบริษัทในการทำกำไร หลังจากหักต้นทุนค่าใช้จ่ายรวมทั้งภาษีเงินได้หมดแล้ว

 
3.4 อัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น (Return On Equity or ROE)
 
 
ผลตอบแทนผู้ถือหุ้น (ROE %) = กำไรสุทธิ (Net Profit) /ส่วนของผู้ถือหุ้น (Equity)

 
ยิ่ง สูงยิ่งดี แสดงให้เห็นว่าเงินลงทุนในส่วนของเจ้าของ จะได้รับผลตอบแทนกลับคืนมาจากการดำเนินการของกิจการนั้นในอัตราส่วนเท่าไร หากมีค่าสูง แสดงถึงประสิทธิภาพในการหากำไรสูงด้วย
 
Dupont Equation

 
ROE (%) = NP (or EAT) = (EAT/SALES) (SALES/ASSETS) (ASSETS/EQUITY) /Equity

 
หรือ ROE (%) =รายได้จากการขาย สินทรัพย์ทั้งหมด= กำไรสุทธิ X รายได้จากการขาย X สินทรัพย์ทั้งหมด / ส่วนของผู้ถือหุ้น

 
= (ความสามารถในการหากำไร) (การใช้เงินทุน) (ความสามารถในการหาทุน)

 
หรือ สมการนี้เท่ากับ

 
ROE (%) = (Net Profit Margin) (Total Asset Turnover) (Financial Leverage)
 
3. อัตราส่วนแสดงประสิทธิภาพในการทำงาน (Efficiency Ratio)
 
3.1 อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์รวม (ROA)

 
อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์รวม (ROA)(%) = กำไรสุทธิ (Net Profit) /สินทรัพย์รวม (Total Assets)
 
ยิ่ง สูงยิ่งดี เป็นการวัดความสามารถในการทำกำไรของสินทรัพย์ทั้งหมดที่ธุรกิจใช้ในการ ดำเนินงาน ว่าให้ผลตอบแทนจากการดำเนินงานได้มากน้อยเพียงใด หากมีค่าสูง แสดงถึงการใช้สินทรัพย์อย่างมีประสิทธิภาพ

 
 
3.2 อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ถาวร (ROFA)

 
อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ถาวร (ROFA) = กำไรสุทธิ (Net Profit or NP) /รวมสินทรัพย์ถาวร (Fix Assets)

 
3.3 อัตราหมุนเวียนของสินทรัพย์ถาวร (Fixed Asset Turnover)

 
อัตราหมุนเวียนของสินทรัพย์ถาวร (Fixed Asset Turnover)(ครั้ง) = ขายสุทธิ (SALES) /สินทรัพย์ถาวร (Fixed Asset)
ยิ่งสูงยิ่งดี

 
3.4 อัตราการหมุนเวียนของสินทรัพย์รวม (Total Assets Turnover)

 
อัตราส่วนการหมุนเวียนของสินทรัพย์รวม (Total Assets Turnover) (ครั้งหรือเท่า) = ขายสุทธิ (SALES) /สินทรัพย์รวม (Total Assets)

 
จำนวน ครั้งสูง ดี เป็นอัตราส่วนที่แสดงถึงประสิทธิภาพในการใช้สินทรัพย์ทั้งหมด (TA) เมื่อเทียบกับยอดขาย (SALES) ถ้าอัตราส่วนนี้ต่ำ แสดงว่า บริษัทมีสินทรัพย์มากเกินความต้องการ
 
4. อัตราส่วนวิเคราะห์นโยบายทางการเงิน (Leverage Ratio or Financial Ratio)
 
 
4.1 อัตราส่วนหนี้สินต่อทุน (Debt/Equity Ratio)


เพื่อให้ทราบถึงแหล่งที่มาของเงินทุนว่ามาจากหนี้สินหรือส่วนของเจ้าของ ว่ามีมากน้อยเพียงใด

 
อัตราส่วนหนี้สินต่อทุน (Debt/Equity Ratio) (เท่า) = หนี้สินรวม (Total Debt) /ส่วนของเจ้าของ (Equity)

 
ยิ่งต่ำ ยิ่งดี แสดงให้เห็นถึงความเสี่ยงในด้านเจ้าหนี้และเจ้าของกิจการ ถ้าอัตราส่วนสูง
แสดงว่า กิจการมีความเสี่ยงจากการกู้ยืมเงินมาใช้ในการดำเนินกิจการ
 
4.2 ความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ย (Interest Coverage)

 
ความ สามารถในการจ่ายดอกเบี้ย (Interest Coverage) (เท่า) = {กำไรสุทธิ (NP) + ภาษีเงินได้ (Tax) - ดอกเบี้ยจ่าย(Interest)} /ดอกเบี้ยจ่าย (Interest)

 
เป็นการวัดความสามารถของธุรกิจในการจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ ผลคำนวณออกมามีค่าสูง แสดงว่าธุรกิจมีความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ยสูง

 
4.3 อัตราการจ่ายเงินปันผล (Dividend Payout)
 

อัตราการจ่ายเงินปันผล (Dividend Payout) = เงินปันผลต่อหุ้น (Dividend /share) /กำไรสุทธิต่อหุ้น (EPS)

 
แสดงถึงนโยบายการจ่ายเงินปันผลของธุรกิจ

 
อัตราส่วนที่กล่าวมาเป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์หลักทรัพย์ด้วยปัจจัยพื้นฐาน เพื่อท่านจะได้พิจารณางบการเงินได้ในระดับหนึ่ง